การประเมินความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่องานเทศกาลชิมชา ซากุระงาม วัฒนธรรมชนเผ่า และกาแฟดอยแม่สลอง ครั้งที่ 24 จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

เสงี่ยม บุญพัฒน์
ขวัญฤทัย ครองยุติ
อรวรรณ บุญพัฒน์
ญาณัท ศิริสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดงานเทศกาล ชิมชา ซากุระงาม วัฒนธรรมชนเผ่า และกาแฟดอยแม่สลอง ครั้งที่ 24 อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาพฤติกรรมและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวงานชิมชา 3) เสนอข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานเทศกาลนี้ในครั้งต่อไป การศึกษาครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาเป็นครั้งแรกโดยมาพร้อมกับครอบครัวและญาติ โดยทราบข่าวการจัดงานเทศกาลจากอินเทอร์เน็ตมากที่สุด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่พักค้างคืนบนดอยแม่สลอง โดยในส่วนของพฤติกรรมการใช้จ่าย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้จ่ายเงินโดยการซื้อสินค้าประเภทของที่ระลึกจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชา กาแฟ และสินค้าชนเผ่ามากที่สุด โดยค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าซื้อของที่ระลึกและอื่น ๆ โดยเฉลี่ยใช้จ่ายคนละ 3,500 บาท โดยประมาณ สำหรับความพึงพอใจต่อการจัดงานนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีความพอใจมากที่สุด คือ ด้านสินค้าของที่ระลึก กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมากที่สุด คือ กิจกรรมการชิมชา กาแฟ ในส่วนการเดินทางกลับมาท่องเที่ยวงานเทศกาลนี้อีกครั้งในปีต่อไป นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ระบุไม่แน่ใจว่าจะกลับมาเที่ยวงานเทศกาลที่จะจัดในปีต่อไปหรือไม่ มีเพียงร้อยละ 18 ที่ระบุว่าจะกลับมาอีกครั้ง สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดงานครั้งต่อไป คือ การปรับปรุงในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. กรุงเทพฯ:

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2549). Event marketing. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นตริ้งเซนเตอร์.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์ (2542). การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อันดามันจุดเปลี่ยนอันดามันสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2550) การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.กรุงเทพฯ. วี อินเตอร์ พริ้นทร์.

ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2562). การวางแผนการจัดกิจกรรมทางการตลาด, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562. จาก https://marketeeronline.co/archives/136325

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรส แอนด์ ดีไซน์.

มนัส สุวรรณ, อุดม เกิดพิบูลย์, อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์, ประหยัด ปานดี, บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, ประสิทธิ์ การกลาง, รักกิจ ศรีสรินทร์, และนเร เหล่าวิชยา.(2541). โครงการศึกษาแนวทางและการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบล. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2553). การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลสา กลางณรงค์. (2543). ทัศนคติของวัยรุ่นต่อการตลาดเชิงกิจกรรม. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2552). พจนานุกรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย-อังกฤษ LEXiTRON เวอร์ชัน 2009 beta, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก http://lexitron.nectec.or.th/2009_1/index.php?q=

ส่งศรี วงษ์เวช. (2545). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำปิง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาบริการ : Service psychology เอกสารวิชาการเชิงประยุกต์ด้านธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม การขนส่ง และธุรกิจจัดการงานบริการ. กรุงเทพฯ : อดุลพัฒนกิจ.

Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Phychological Testing. 3rded. New York: Harper & Row Publisher.

Goldblatt, J. (1997). Special events: Best practices in modern event management (2nd ed.). New York: Van Nostrand Reinhold.

Goldblatt, J. J. (2011). Special events : A new generation and the next frontier. Hoboken, N.J: Wiley.

Jones, M. (2017). Sustainable event management: A practical guide. Routledge.

Shertzer, B., & Linden, J. D. (1979). Fundamentals of individual appraisal. Boston : Houghton Mifflin.

Shone, A., & Parry, B. (2004). Successful event management : A practical handbook. London: Thompson.