การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการศูนย์นวดแผนไทยชุมชนหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการการให้บริการของศูนย์นวดแผนไทยหนองป่าครั่ง และประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และวงจรการพัฒนาระบบ มาเป็นกรอบการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการของศูนย์นวดฯ และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบล หนองป่าครั่ง ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการศูนย์นวดฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 28 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศ กระบวนการวิจัยเริ่มต้นด้วยการสำรวจความต้องการในการพัฒนาระบบ โดยการจัดเวทีประชุมร่วมกับชุมชน ด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม SWOT Analysis นำผลที่ได้มากำหนดหัวข้อในการศึกษาและพัฒนา ดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยการจัดประชุมร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษารูปแบบของสารสนเทศที่ต้องการ และพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน ดำเนินการทดสอบและติดตั้งระบบ จากนั้นจัดอบรมเชิงปฏิบัติการใช้งานระบบ ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบโดยกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.64 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้รับบริการสามารถจองนัดหมายเวลาล่วงหน้า และการจัดลำดับการให้บริการของผู้ให้บริการ และออกรายงานข้อมูลที่ใช้สำหรับบริหารจัดการศูนย์นวดฯ ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ การให้บริการที่สร้างความเชื่อมั่นและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2564). แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนานวดไทย. สืบค้นจาก https://ont.dtam.moph.go.th/images/document/laws_order/ laws-order-0002.pdf
จรรยา ชื่นอารมณ์. (2562). การพัฒนาระบบจองเวลาใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 70 – 79.
จารุณี ภัทรวงษ์ธนา, สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ และพงศ์กร จันทราช. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชุมชนกึ่งเมือง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(4), 128 – 146.
เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง. (2563). ศูนย์นวดแผนไทยหนองป่าครั่ง. สืบค้นจาก http://www.nongpakhrang.go.th/travel/travel/25
ปายือรี นาแว, ศรุต แมเร๊าะ และดินาถ หลำสุบ. (2563). ระบบจัดการข้อมูลการเข้ารับบริการคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลเทพา. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(1), 11 – 22.
สงบ ศศิพงศ์พรรณ, ทศนัย ชุ่มวัฒนะ และศุภณัฐ ค้าทอง. (2560). ระบบจองคิวคลินิกออนไลน์ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารสมาคมเวชสารสนเทศไทย, 3(1), 16 – 22.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). การนวดแผนไทย. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/th/search.php?q=นวด
สำนักวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). อุตสาหกรรมสปาและนวดแผนไทย. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/en/forums/2020/12/spa-and-thai-massage/
สุพัฒตรา บุญเติม, ยอแสง โคตรวงค์, อรดา ไตรภูมิ และพนิดา พานิชกุล. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันจองคิวร้านสักบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษาร้าน AB Tattoo จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 1(1), 29 – 38.
Chaivichayachat S. (2020). Covid-19 impact on the Thai economy and vulnerability of Thai firms. Retrieved from https://www.krungsri.com/en/research/research-intelligence/ri-covid19-impact-en