ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการส่งเสริมเกษตรกร เข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรลำไยในจังหวัดลำพูนโดยวิธีการ AHP

Main Article Content

ศิรสิทธิ์ ชัยเมืองเขียว
เก นันทะเสน
วราภรณ์ นันทะเสน
นิโรจน์ สินณรงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการต่อกระบวนการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการส่งเสริมการปลูกลำไยในจังหวัดลำพูน ได้แก่ อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ อำเภอบ้านธิ อำเภอเมือง อำเภอแม่ทา และอำเภอทุ่งหัวช้าง โดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์โดยการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญต่าง  ๆ ในการคัดเลือกรูปแบบการส่งเสริมการปลูกลำไยให้เหมาะสม ซึ่งหลักเกณฑ์พิจารณาสำคัญในการพิจารณา คือ สภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำเกษตรกรแต่ละกลุ่ม และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการปลูกลำไยในพื้นที่จังหวัดลำพูน ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการวิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 ราย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการเปรียบเทียบค่าน้ำหนักของปัจจัยหลักและปัจจัยรอง ผลการวิเคราะห์น้ำหนักของปัจจัยหลักพบว่า 1) ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยหลักที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ 2) ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยรองที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ การมีตลาดรองรับ และค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วย และ 3) ค่าความสอดคล้องของปัจจัยหลัก (Cr) มีค่า เท่ากับ 0.030 และปัจจัยรองมีค่าความสอดคล้องของปัจจัยหลัก (Cr) เท่ากับ 0.036 ซึ่งเป็นค่าที่น้อยกว่า 0.1 หมายถึงทั้งปัจจัยหลักและปัจจัยรองที่วิเคราะห์ได้มีความสอดคล้องกันมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศุลกากร. (2563). ข้อมูลการบริโภคผลผลิตลำไยสดทั้งในประเทศไทยและปริมาณการส่งออก. สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/fcri/wp-conten

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

ศุภกฤษณ์ เสวะกะ. (2559). ปัจจัยคุกคามสุขภาพ การเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. (ปริญญานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ข้อมูลการบริโภคผลผลิตลำไยสดทั้งในประเทศไทยและปริมาณการส่งออก. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/view/1

Nong Khai Department of Land Development. (2014). 6 Index for Green Agriculture City which affected to import statistics of chemicals. Nong Khai: Nong Khai Department of Land Development.

Saaty, T. L. (2001). The analytic hierarchy. New York: McGraw-Hill.

Saensuk, P., Toomhirun, C., Khlibtong, J., & Manochai, P. (2021). Longan Production Technology Extension Model for Sustainable Development by Longan Farmers in Northern Thailand. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(5), 95-110.

USDA Foreign Agricultural Service. (2019). Volume of agricultural exports to the United States. Retrieved from Agricultural Service USDA Club https://www.fas.usda.gov/data