การพัฒนาสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “bǐ” ในภาษาจีนกลาง

Main Article Content

พรรณภรณ์ ขันธพัทธ์
ตรีศูล เกษร
ศุภกร ทาพิมพ์
อนงครัตน์ บังศรี
อุษณา ทีบัว

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพให้กับสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “bǐ” ในภาษาจีนกลางให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางความรู้และความเข้าใจในเรื่องประโยคเปรียบเทียบ “bǐ” ในภาษาจีนกลางระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบที่ใช้บุพบท “bǐ” ในภาษาจีนกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนศิลป์ภาษาจีน โรงเรียนเพชรพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “bǐ” ในภาษาจีนกลาง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการสอน จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อการสอนมีค่าเท่ากับ 80.06/83.25 ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “bǐ” ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “bǐ” ในภาษาจีนกลางอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ตรีศูล เกษร, ศุภกร ทาพิมพ์, และอนงครัตน์ บังศรี. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบวากยสัมพันธ์ประโยคเปรียบเทียบที่ใช้บุพบท “bi” ในภาษาจีนและ “กว่า” ในภาษาไทย. วารสารร่มพฤกษ์, 37(2), 92-102.

นุจรินทร์ ถิ่นทัพไทย. (2547). การพัฒนาอ่านหนังสือเพิ่มเติมเรื่อง “เห็ดในระบบนิเวศของป่าสะแกราช”สำหรับนักเรียนช่วงชั้นปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ 4 มนุษย์กับการเรียนรู้. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์แมนดารินเอดูเคชั่น. (2559). พิชิตคำศัพท์ HSK ระดับ 1-3. กรุงเทพฯ: แมนดารินเอดูเคชั่น.

มาลินี ณ นคร. (2553). การสร้างแบบเรียนเรื่องตัวสะกดภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สุธินี สุขตระกูล. (2526). วิธีวิเคราะห์และเปรียบเทียบภาษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี อาศัยราช, และนันทวดี วงษ์เสถียร. (2557). การพัฒนาบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานโดยใช้เอกสารจริงด้านสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา. สืบค้นจาก https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2557/2557239875628.pdf

อนุมานราชธน, พระยา. (2522). นิรุกติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

อานุภาพ เลขะกุล. (2556). การใช้ภาษาในการเขียนตำรา: เอกสารประกอบโครงการอบรมการเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลงานทางวิชาการ. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Likert, R. A. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.