การวิเคราะห์ข่าวจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมแบบฝึกทักษะการอ่าน จับใจความและการเขียนสะกดคำยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุกัญญา ขลิบเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ข่าวจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสะกดคำยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตำบล   รอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข่าวครอบครัวจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ การใช้ภาษาในข่าวครอบครัวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ และเพื่อสร้างนวัตกรรม   แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสะกดคำยาก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


            ผลการศึกษา พบว่า 1. การวิเคราะห์ข่าวครอบครัวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ทำการวิเคราะห์ข่าวที่เกี่ยวกับบทบาทของพ่อที่มีต่อลูก ทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้ความคุ้มครองและปกป้องครอบครัว 2) ค้ำจุนเกื้อหนุนเศรษฐกิจ 3) เป็นที่พึ่ง ที่ปรึกษาในยามต้องการ 4) ให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัว 5) เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก บทบาทของแม่ที่มีต่อลูก ทั้งหมด 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การเลี้ยงดูลูก  2) การปกป้องลูก    3) การเสียสละเพื่อลูก 2. การวิเคราะห์การใช้ภาษาในข่าวครอบครัวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ทำการวิเคราะห์ ทั้งหมด  8 ประเด็น ได้แก่
1) คำสื่ออารมณ์อาลัยอาวรณ์ 2) คำสื่ออารมณ์สงสาร เห็นใจ 3) คำสื่ออารมณ์ชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ 4) คำสื่ออารมณ์รัก ความสุข สมหวัง 5) คำสื่ออารมณ์บันเทิง สนุกสนาน 6) คำสื่ออารมณ์ โศกเศร้า เสียใจ 7) คำสื่ออารมณ์โกรธแค้น 8) คำสื่ออารมณ์ประชดประชัน 3. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ความสามารถการใช้นวัตกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสะกดคำยาก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4. การวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน  จับใจความและการเขียนสะกดคำยาก มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้การใช้แบบฝึกทักษะ  การอ่านจับใจความและการเขียนสะกดคำยากมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.50/86.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา สาตร์ร้าย. (2556). ภาษาข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์แจก M2F. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

ธีร์วรา ขะบูรณ์. (2557). วิเคราะห์การใช้ภาษาในการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

รัชการดา เหลาแก้ว. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.

วราพร ตราชู. (2560). การวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้พ้นโทษของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สมพงษ์ ศรีพยาต. (2553). การพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. (2562). รายงานผลการจัดการศึกษาปีการศึกษา 2561. เชียงราย: สำนักงานฯ.