การนำนโยบายผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติกรณีการร่วมจัดบริการของหน่วยงานรัฐ และประชาสังคมในจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

อุทิศ วันเต
ศุภชัย ยาวะประภาษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ และการร่วมจัดบริการของประชาสังคมในการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติในจังหวัดพิจิตร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรหน่วยงานรัฐใน 4 กระทรวงหลัก  ที่ดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาสังคม
ในจังหวัดพิจิตร รวม 85 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ 4 วิธี คือ 1.การศึกษาเอกสาร 2.การสัมภาษณ์เชิงลึก 3.การสนทนากลุ่ม 4.การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม Atlas ti. 8 และตารางวิเคราะห์ของ Lofland ตีความแบบอุปนัย (Inductive) เพื่อตอบคำถามและอภิปรายผลการวิจัย


            ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2
(พ.ศ. 2545-2564) ไปปฏิบัติประกอบด้วย ตัวนโยบายที่กำหนดจากส่วนกลางไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ ขาดการมอบอำนาจการตัดสินใจให้หน่วยงานระดับพื้นที่ การสนับสนุนทรัพยากร
ไม่เพียงพอและติดขัดระเบียบการเบิกจ่ายตามขั้นตอนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหลายหน่วยงาน การติดต่อสื่อสารเป็นแบบบนลงล่างตามสายการบังคับบัญชา บางหน่วยงานขาดกำลังคนปฏิบัติงานในระดับอำเภอและตำบล ทำให้งานผู้สูงอายุกลายเป็นภารกิจฝากกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ไม่พร้อมก็เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติด้วย


          ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้พบว่า ประชาสังคมในจังหวัดพิจิตร
มีความเข้มแข็งและเข้ามาร่วมจัดบริการในการดูแลผู้สูงอายุ เสริมการดำเนินงานของรัฐในรูปแบบบวร (บ้าน วัด ราชการ) ทำให้การดำเนินนโยบายผู้สูงอายุดีขึ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ในอนาคตควรส่งเสริมบทบาทของประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานรัฐในลักษณะการร่วมจัดบริการ ตามสภาพพื้นที่มากกว่าสั่งการจากส่วนกลางมาอย่างอดีต สอดคล้องกับการบริหารงานรัฐในปัจจุบัน
ที่เปลี่ยนจากการบริหารงานรัฐแบบดั้งเดิม (OPM) และการบริหารงานรัฐแนวใหม่ (NPM) มาเป็น การบริหารงานรัฐแบบร่วมจัดบริการสาธารณะ/แบบหลักธรรมาภิบาล (NPS/NPG)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2565). ประชากรตามทะเบียนราษฎร์. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการบูรณาการความร่วมมือ 4 กระทรวงเพื่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตในช่วงวัยสูงอายุ. นนทบุรี: กระทรวงฯ.

นวลประกาย เลิศกิรวงศ์. (2561). การศึกษาการผลิตร่วมในนโยบายพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า: กรณีศึกษา โครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ

ปิยากร หวังมหาพร. (2550). การวิจัยโครงการนวัตกรรมการนำนโยบายผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พรรณอร วันทอง, จีระ ประทีป และกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(2), 657-670.

รุ่งระพี เถยศิริ. (2551). การเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

วราภรณ์ หล้าคำแก้ว. (2558). วิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้สูงอายุไทยในศตวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569). (วิทยานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจอัตราการเป็นภาระวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th

อรุณี สัณฐิติวณิช. (2557). การร่วมกันจัดบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นของพลเมือง: กรณีศึกษาการจัดการขยะของชุมชนชลประทาน จังหวัดอุบลราชธานี. Veridian E-Journal. Silpakorn University. 7 (1) 625-635.

อรุณี อินเทพ. (2564). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาชุมชนศรีดอนชัย อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(1), 14-29.

Meter D.V. & Horn C.V. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework . Administration & Society. Ohio: The Ohio State University, 6(4), 445-488

Victor P., B. Taco, Bram (eds.). (2012). New public governance. the third sector. and co-production routledge. New York: Simultaneously published