ปัจจัยการเดินทางท่องเที่ยวที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มครอบครัว ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

อุรัสยา สนธิเดชกุล
นภธร ดามาพงษ์
ปวริศา เลิศวิริยะประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการเดินทางทองเที่ยวของกลุมครอบครัวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณโควิด-19 2) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มครอบครัวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณ์โควิด-19 3) ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปกับปัจจัยการเดินทาง
ทองเที่ยวของกลุมครอบครัวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณโควิด-19 และ 4) ศึกษาปัจจัยการเดินทางท่องเที่ยวที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุมครอบครัวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มครอบครัวที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ทดสอบเครื่องมือโดยการตรวจค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (IOC) และค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า
T - Test และ F – Test หรือ ANOVA ผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.30 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 32.50 เป็นครอบครัวที่มีบุตร ร้อยละ 56.50 มีบุตร จำนวน 1 คน ร้อยละ 24.00 อยู่ในช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไป ร้อยละ 46.00 อาชีพลูกจ้าง/รับจ้าง ร้อยละ 40.50 และมีรายได้ต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท ร้อยละ 32.00 ระดับปัจจัยการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มครอบครัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่ครอบครัวพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ ด้านความปลอดภัย รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านแพลตฟอร์มให้บริการท่องเที่ยวบนเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน ตามลำดับ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มครอบครัว พบว่า จะมีการเดินทาง 1 ครั้ง/เดือน ใช้ข้อมูลตัดสินใจจากอินเทอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์ สนใจในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ สนใจทำกิจกรรมพักผ่อน/ทานอาหารและเครื่องดื่ม และเดินทางโดยรถยนต์บุคคล ผลการทดสอบสมมติฐาน 1) เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปกับปัจจัยการเดินทางท่องเที่ยว พบว่า เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน พิจารณาถึงปัจจัยการเดินทางท่องเที่ยว แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ปัจจัยการเดินทางทองเที่ยวที่มีผล
ตอพฤติกรรมการทองเที่ยวของกลุ่มครอบครัว พบว่า ปัจจัยด้านงบประมาณมีผลต่อพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเดินทาง และการเลือกทำกิจกรรมท่องเที่ยว ปัจจัยด้านแพลตฟอร์มให้บริการท่องเที่ยวบนเว็บไซต์/แอปพลิเคชันมีผลต่อจำนวนครั้งที่คิดว่าจะเดินทางท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การเลือกทำกิจกรรมท่องเที่ยว และการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเดินทาง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการใช้แหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และการเลือกทำกิจกรรมท่องเที่ยว ปัจจัยด้านเวลามีผลต่อจำนวนครั้งที่คิดว่าจะเดินทางท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และการเลือกทำกิจกรรมท่องเที่ยว และปัจจัยด้านความปลอดภัยมีผลต่อพฤติกรรมในการใช้แหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และการเลือกทำกิจกรรมท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2564 (Tourism statistics 2022). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/628

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report

เกล็ดดาว หมอกเมือง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ, อมรฤทัย ภูสนาม และ อรอนงค์ เดชมณ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 187-201

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2564). NEO TOURISM ท่องเที่ยวมิติใหม่ เจาะอินไซต์นักเดินทาง. สืบค้นจาก https://mgronline.com/business/detail/9640000097741

ประภัสสร โสรมรรค และ เมษ์ธาวิน พลโยธี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนของห้าแยกน้ำพุตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 26-44.

ประยูร แสนสมัคร และ กมลทิพย์ คําใจ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทยวิถีใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(1), 64-76.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(ฉบับพิเศษ), 168-180.

มีพร เอี๋ยวพานิช. (2561). ปัจจัยของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการซื้อสินค้าและการบริการท่องเที่ยวทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 248-263.

วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ปรัชญา นวนแก้ว, ณัฐวุฒิ พรหมเทียน, ณัชพล ปานงาม และ วันชัย เหมืองหม้อ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 95-103.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 134-149.

ศรัญญา ศรีทอง, คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, อังสุมาลิน จำนงชอบ, และ กิ่งกนก เสาวภาวงศ์. (2561). ความต้องการการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวในจังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ, 10(2), 145-160.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ และ อริยา พงษ์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกการเดินทางท่องเที่ยวไทยแบบปรกติใหม่. วารสารวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 12-24.

สถาพร เกียรติพิริยะ, สิทธิพล พุคยาภรณ์, และ วิทิดา นาคสุข. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่องของคนวัยทำงาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 179-196.

สาลินี ทิพย์เพ็ง และ กุลดารา เพียรเจริญ. (2565). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาหลังวิกฤติโควิด-19. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 428-442.

สิริญญา ชาติเผือก. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 134-153.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2564). ระบบสถิติทางการทะเบียน ระดับจังหวัด ปี 2564. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php

Kotler, P. & Armstrong, G. (2012). Principles of Marketing (15thed.). UK: Pearson Education.