การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO Model ร่วมกับเทคนิคการเขียน แบบกึ่งควบคุมเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษจากแบบทดสอบอัตนัยหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสันทราย (พรหมณีวิทยา) จังหวัดเชียงราย จำนวน 22 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษแบบอัตนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.7101 หรือ ร้อยละ 71.01
- 2. ทักษะการเขียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนจากแบบทดสอบอัตนัยหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
เฌอร์ลิล พันธุ์สะอาด. (2562). การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ดลชัย อินทรโกสุม. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
ดิเรก วรรณเศียร. (2558). เอกสารประกอบการสอน MACRO model :รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สืบค้นจาก http://regis.dusit.ac.th
ธนพร เลิศโพธาวัฒนา. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องยีนและโครโมโซม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21: MACRO model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
วิกานดา พิณแพทย์. (2562). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเขียนแบบกึ่งควบคุมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปราจีนกัลยาณี.
สืบค้นจาก http://pkn.ac.th/workteacher-detail_9673
ศศิภา พรหมมินทร์.(2564). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 - 2564. สืบค้น จาก www.onetresult.niets.or.th
Dueraman, B. (2015). The crucial point in time where Thai students are introduced English language teaching. Richmond Hill. English Language Teaching: Canadian Center of Science and Education.
Hughey, J. B., et al. (1983). Teaching ESL composition: Principles and techniques. Massachusetts: Newbury House.
Jacobs, et al.(1981). Testing ESL Composition. Rowley, MA: Newburry House.