การพัฒนาต้นแบบระบบการควบคุมภายในกลุ่มเพื่อการผลิตสับปะรดนางแลคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบการควบคุมภายในกลุ่มเพื่อการผลิตสับปะรดนางแลคุณภาพ และเพื่อประเมินระบบการควบคุมภายในเพื่อการผลิตสับปะรดนางแลคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนางแลที่ขอขึ้นทะเบียนผู้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI “สับปะรดนางแล” และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ตำบลนางแล จำนวน 26 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อการพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” 2) แบบสัมภาษณ์การนำต้นแบบระบบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” ไปปฏิบัติ 3) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ต้นแบบระบบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” การวิเคราะห์ช้อมูล 1) ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย นำมาแยกแยะวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูล สรุปและสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้เป็นภาพรวม 2) ข้อมูลการประชุมติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลตามการประเมินในแต่ละด้าน แล้วสรุปข้อมูลเป็นจุดเด่น จุดด้อย และบทเรียนการพัฒนาระบบควบคุมภายในกลุ่มเพื่อการผลิตสับปะรดนางแลคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นแบบระบบควบคุมภายในกลุ่มตามมาตรฐานคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” ประกอบด้วย 3 เป้าหมายการควบคุมตรวจสอบ คือ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ กระบวนการผลิต และการบรรจุเพื่อจำหน่าย จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ตรวจแปลงสับปะรด เพื่อขอขึ้นทะเบียนผู้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย ขั้นตอนวิธีการขอขึ้นทะเบียนผู้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลแปลงและข้อมูลผลผลิตสำหรับเกษตรกร และแบบฟอร์มสำหรับคณะกรรมการตรวจประเมินในการตรวจสอบข้อมูลแปลงปลูกและข้อมูลผลผลิต 2) การติดตามประเมินผล เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจำนวน 20 ราย และคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินแปลงระดับท้องถิ่น จำนวน 6 ราย การติดตามผลการนำต้นแบบระบบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” ไปปฏิบัติ พบว่า จัดเก็บข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ต้นแบบระบบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดนางแล” พบว่า แบบฟอร์มตามระบบควบคุมภายในมีความเข้าใจง่าย ประหยัดเวลาในการบันทึกข้อมูลรายการ สะดวกในการปฏิบัติงาน สอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับผู้ใช้ข้อมูล (เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด) ระดับกลาง (ผู้ตรวจประเมินระดับท้องถิ่น) และระดับสูง (ผู้ตรวจประเมินระดับจังหวัด) ความทันเวลาความยืดหยุ่นของรายงาน พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสามารถจัดทำข้อมูลแปลงและข้อมูลผลผลิตได้อย่างรวดเร็วและทันเวลาต่อการเตรียมสำหรับการตรวจประเมินแปลงโดยผู้ตรวจสอบประเมิน มีความยืดหยุ่นไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินแปลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2548). ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สับปะรดนางแล ทะเบียนเลขที่ สช 49100013. 8 พฤศจิกายน 2548.
กรมวิชาการเกษตร. (2562). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรือง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช. 31 มีนาคม 2562.
กรมวิชาการเกษตร. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7. (2561). คู่มือเกษตรอินทรีย์ (สำหรับเกษตรกร). สุราษฎร์ธานี: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร
กิตติพงษ์ โภชนะสมบัติ. (2557). การประเมินผลระบบควบคุมภายในตามแนวคิด COSO กรณีศึกษา หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเกษตรศาสตร์. (2549). คู่มือประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสับปะรดนางแล. เชียงใหม่: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 330 วิธีปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้. สืบค้นจาก https://acpro-std.tfac.or.th/uploads/files/TSA/2559_TSA330.pdf
อุทุมพร ธรรมสนอง. (2551). การประเมินผลการควบคุมภายในทางการบัญชีของเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
Devadason, F.J. (1996). Practical steps for identifying information needs of clients. สืบค้นจาก http://www.geocities.com/Athens/5041/infneed.html