การพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย สำหรับผู้เริ่มต้น เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติแซ็กโซโฟน

Main Article Content

สิปปนนท์ เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการปฏิบัติแซ็กโซโฟนระดับพื้นฐาน หลังการใช้แบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของผู้รับการฝึกที่มีต่อการใช้แบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติแซ็กโซโฟน สำหรับผู้เริ่มต้น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า และบุคคลทั่วไปที่สนใจการปฏิบัติแซ็กโซโฟน จำนวน
5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกการปฏิบัติ จำนวน 1 ฉบับ ใช้เวลา 56 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติแซ็กโซโฟนเบื้องต้น และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับการฝึกที่มีต่อแบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. แบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน อยู่ที่ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.31

  2. ทักษะการปฏิบัติแซ็กโซโฟนระดับพื้นฐาน หลังการใช้แบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน
    ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย พบว่า ผู้รับการฝึกมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.40 หรือคิดเป็นร้อยละ 85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

____________________________


1 วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา


  School of Education, University of Phayao


  e-mail: [email protected]


          3. ความพึงพอใจของผู้รับการฝึกที่มีต่อการใช้แบบฝึกการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติแซ็กโซโฟน สำหรับผู้เริ่มต้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 
พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านครูที่ปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  0.70 รองลงมาคือ ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68 และด้านการสื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ์ สุวัธนวนิช (2564). การพัฒนาและหาคุณภาพแบบฝึกหัดทักษะพื้นฐานสำหรับไวโอลินตามแนวคิดของอิวาน กาลาเมี่ยน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 1-36.

จารุเนตร อินพหล (2564). การอ่านโน้ตสากลและทักษะการปฏิบัติเมโลเดียนของนักเรียนวงเมโลเดียนระดับประถมศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดของซูซูกิ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 174-184.

ถาวรดา จันทนะสุต. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนดนตรี. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ. (2564). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ของนักศึกษา สาขาวิชาดนตรีศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัม, 13(1), 1-14.

เพลินพิศ กิ่งชา. (2565). การพัฒนาการเรียนรู้โน้ตสากลเบื้องต้นโดยใช้แบบฝึกทักษะเมโลเดียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร.

วรพล กาญจน์วีระโยธิน. (2561). การศึกษาเนื้อหาและผลจากการเรียนฟลูตตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 1104-1111.

สุกรี เจริญสุข. (2552). แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาของไทย. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Trevor Wye. (1999). Trevor Wye A Beginner's Book for the Flute. London: Novello.