การศึกษาโมเดลธุรกิจการแปรรูปโกโก้ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนออร์แกนิค ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Main Article Content

ธีรศิลป์ กันธา
อังคณา ตาเสนา
มัลลิกา ทองเอม

บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแปรรูปโกโก้ และศึกษาโมเดลธุรกิจการแปรรูปโกโก้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนออร์แกนิค ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารและสมาชิกจำนวน 30 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาโมเดลธุรกิจ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการแปรรูปโกโก้จะมีขั้นตอนที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เริ่มตั้งแต่การเก็บผลผลิตไปจนถึงการแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ เช่น โกโก้ผงช๊อกโกแลต หรือนำเอาเปลือกโกโก้ มาผลิตเป็นปุ๋ยและอาหารสัตว์ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ของสมาชิกของกลุ่ม สำหรับโมเดลธุรกิจการแปรรูปโกโก้นั้นทั้ง 9 ประเด็นมีความสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจโกโก้ โดยคุณค่าโกโก้ที่จะมอบให้ลูกค้านั้นจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อหรือใช้วิธีทางออนไลน์ ซึ่งผลิตภัณฑ์โกโก้ที่จะส่งมอบให้ลูกค้านั้นจะต้องเป็นสินค้าที่ปลอดภัย เน้นการใช้ทรัพยากรในชุมชนในการผลิต รวมทั้งมีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคการศึกษา สำหรับรายได้จะมีทั้งรายได้ที่เป็นตัวเงินกับไม่ใช่ตัวเงิน และ ต้นทุนในการผลิตนั้นจะเป็นต้นทุนที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจและต้นทุนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ นอกจากนี้โมเดลธุรกิจการแปรรูปโกโก้นั้น จะนำไปสู่การกำหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงรุกและเชิงตั้งรับ เพื่อพัฒนาการผลิตและแปรรูปโกโก้ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออร์แกนิค ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวน. (2564). การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิตโกโก้. กรุงเทพฯ: การันตี.

การยางแห่งประเทศไทย. (2566). คู่มือการเขียนแบบจำลองธุรกิจ, สืบค้นจาก https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/intra_ฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตร/คู่มือ%20BMC%20ฉบับจริง.pdf

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วาสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 17-29.

กัญญามน กาญจนาทวีกูล, วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์, เปรมกมล จันทร์กวีกูล, ศิริญญา ศิริญญานนท์, และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ชุมมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จังหวัดระนอง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(2), 37-48.

กัลยา พงสะพัง, สมโภชน์ วัลยะเสวี, ธนาพันธ์ นัยพินิจ, และ นพดล มั่งมี. (2565). การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดขอนแก่น. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1905-1917.

ชื่นจิตร อังวราวงศ์ และ ไพบูลย์ ญาณกิตติ์กูร. (2560). การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจผลิตภัณฑ์ผงข้าวออร์แกนิคชงดื่มสำเร็จรูป. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(4), 92-109.

ไตรมาศ พูลผล, ปิยะพงษ์ ยงเพชร, และ ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล. (2566). การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 255-274.

นิยม กริ่มใจ. (2565). ธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่วิถีปกติใหม่ ด้วยโมเดลธุรกิจ CANVAS. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(1), 66-78.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566, มิถุนายน 17). จับตา “โกโก้” เผชิญสารพัดปัญหา เอลนีโญ่พ่นพิษ – เกษตรกรถูกหลอก ความท้าทายใหม่ของ “พืชแห่งอนาคต”. ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้น จาก https://mgronline.com/daily/detail/9660000055185

พรนภา โวหาร. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออร์แกนิก. สัมภาษณ์. 25 พฤษภาคม 2565.

ฟ้าวิกร อินลวง. (2566). การสร้างความยั่งยืนในการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการสร้างคุณค่าร่วม (CSV) และแผนผังรูปแบบธุรกิจ (BMC). วารสารศิลปะการจัดการ, 7(3), 1208-1224.

วิจิตร วังใน. (2560). โกโก้:อาหารที่ดีที่สุดและยาวิเศษของทุกยุคสมัย. ข่าวสารสมาคมพืชสวน, 32(1), 4-6.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG, สืบค้นจาก https://www.bcg.in.th/bcg-by-nstda/