การศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ จำนวน 144 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ตารางของ Krejcie & Morgan และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และมีผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ครู และอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมเป็นจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1) สมรรถนะของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติหรือผู้ที่สามารถทำสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 และ
2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ที่ควรส่งเสริมในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านความรู้ ควรส่งเสริมประเด็นความรู้และเข้าใจศาสตร์การสอน และเนื้อหาของสิ่งที่ตนเองจะสอนอย่างถ่องแท้ ด้านทักษะควรส่งเสริมประเด็นความสามารถในการค้นหาความต้องการและจุดเด่นของผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และความสามารถบริหารจัดการผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเชื่อมโยงความรู้ได้ และ ด้านเจตคติ ควรส่งเสริมประเด็นการให้คุณค่ากับสิ่งที่ทำให้ผู้เรียน
มีเอกลักษณ์ในตัวเอง และการมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กันตพัฒน์ มณฑา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 289-296.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2550). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ณัฐกานต์ เรือนคำ และ กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2565). การเสริมสร้างสมรรถนะครูไทยกับการศึกษาไทย 4.0. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 128-142.
ดนัย เทียนพุฒ. (2550). ความสามารถในทรรศนะ ดร.ดนัย เทียนพุฒ. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.อินเฟอร์เมชั่น แอน พับลิเคชั่น.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Compentency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). Competency ภาคปฏิบัติ-เขาทำกันอย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
บัญชา นวนสาย และ อาลัย จันทร์พาณิชย์. (2559). สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สืบค้นจาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/3299/2559-research%20 Bancha.N.pdf?sequence=1
ประภาพร ศิริสกุลวัฒนาพร, สวนีย์ เสริมสุข และ เอกชัย จันทา. (2563). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(1), 80-96.
พงษ์ศักดิ์ ศิริโอภา, พจนีย์ มั่งคั่ง และ อังคณา กุลนภาดล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 107-122.
ภาวิดา มหาวงศ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
มลิวัลย์ สมศักดิ์, นิตยารัตน์ คงนาลึก, ทิพวรรณ ทองขุนดำ และ รพีพรรณ อักษราวดีวัฒน์. (2561). องค์ประกอบและตัวชี้วัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 51–58.
วรชพร ศรีไทย, มนตรี อนันตรักษ์ และ สุรชา อมรพันธุ์. (2555). สมรรถนะของครูคณิตศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษา ตามทัศนะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 279-291.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศิริรัตน์ ชาวนา, ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, นฤมล ช่างศรี และ เกียรติ แสงอรุณ. (2563). สมรรถนะเชิงวิชาชีพของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซี-ทีซีเอฟ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 101-136.
อุบล พวงมาลา, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร. (2562). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน และแบบประเมิน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 376–394.
Bryant, J. & Poustie, K. (2001). The new management development paradigm. Human Resource Planning. 20(8), 14-21.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.
Parry, S. B. (1997). Evaluating the impact of training. Alexandria, VA: American Society for Training and Development.