แนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จุดผ่านแดนไทย - สปป. ลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาโอกาสทางกายภาพการท่องเที่ยวพื้นที่จุดผ่านแดน
ไทย - สปป. ลาว 2. เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จุดผ่านแดนไทย - สปป. ลาว ที่เหมาะสมต่อพื้นที่จุดผ่านแดนของจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยสำรวจพื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเพื่อประเมินความพร้อมในการเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 120 คน และการจัดประชุมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 210 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า 11 จังหวัด มีพื้นที่จุดผ่านแดนไทย - สปป. ลาว ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และพบเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่ประเทศที่สาม ที่เดินทางไปยังประเทศจีนที่เมืองสิบสองปันนา คุนหมิง หนานหนิง และประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา และจากโอกาสทางกายภาพทางการท่องเที่ยว การศึกษาในครั้งนี้จึงได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จุดผ่านแดนไทย - สปป. ลาว ประกอบด้วย การสร้างประสบการณ์ผ่านเส้นทาง การสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจบริการ การยกระดับบุคลากร และการประชาสัมพันธ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว. (2566 สิงหาคม 11). สืบค้นจาก ditp.go.th/post/141599
กระทรวงการต่างประเทศ. (2566). กระทรวงการต่างประเทศเยือน สปป. ลาว. สืบค้นจาก https://www.mfa.go.th/th/content/dpm-fm-follows-up-pms-visit-to-lao-pdr
กระทรวงการต่างประเทศ. ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว. (2566 พฤศจิกายน 8). สืบค้นจาก https://thaibizlaos.com/lao/news/detail.php
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้นจาก https://anyflip.com/zzfck/rptc/basic
กันยาวรรนธ์ กำเนิดสินธุ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบางน้ำผึ้ง. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(1), 173-196.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2560). การวางแผนและพัฒฯการตลาด การท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาย โพสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์, จุฑาธิป จันทร์เอียด และอังสุมาลิน จำนงชอบ. (2563). วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 16(2), 127-147.
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ, ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2562). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศไทยและสปป. ลาว. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ประจวบ จันทร์หมื่น. (2562). ระบบโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมโยงตามลำน้ำโขงไทย-ลาว กรณีศึกษา พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร-สะหวัน-เซโน และนครพนม- ท่าแขก. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(1), 45-63.
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2566, มีนาคม 24). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 140 ตอนที่ 70. หน้า 39.
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 – 2568) ของ สปป. ลาว. ม.ป.ท. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ.
สุริยา คำหว่าน และวัชรี แซงบุญเรือง. (2564). นวัตกรรมการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ไทย ลาว เวียดนาม ภายใต้บริบทลุ่มน้ำโขงตอนกลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(3), 115-130.
หิรัญญา กลางนุรักษ์ และ เกิดศิริ เจริญวิศาล. (2566). ศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 182-192.