ทัศนคติและการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

ขวัญภิรมย์ บุญภู
ฑัตษภร ศรีสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง และศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์
ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ


            ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร               ต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง ได้แก่ ด้านการตอบสนอง ด้านความเชื่อส่วนบุคคล
ด้านแนวโน้มพฤติกรรม ด้านประสบการณ์ ส่วนด้านการรับรู้ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง ได้แก่ คอนเทนต์ประเภทเพื่อชักจูง คอนเทนต์ประเภทเพื่อความบันเทิง  คอนเทนต์ประเภทให้แรงบันดาลใจ ส่วนคอนเทนต์ประเภทเพื่อให้ความรู้ไม่มีผล    ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงควรให้ความสำคัญกับทัศนคติด้านการตอบสนองและการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์ รูปแบบคอนเทนต์ประเภทเพื่อความบันเทิง เพราะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์ฝุ่นควันและไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 ลําปาง แพร่ พะเยา และน่าน. สืบค้นจากdhttps://www.shorturl.asia/TCmyd

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานผลการวิเคราะห์การสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโครงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://eservice.deqp.go.th/media /details?media_group_code=30&media_type_id=12&media_id=2433

ขวัญชณก ผูกไมตรี. (2564). อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าและการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีในบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง Netflix ของคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณภัทรชนม์ หาวิชา และ กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2564). รูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(3), 340-354.

ไทยโพสต์. (2566). สำรวจพบคนรุ่นใหม่ พร้อมจ่ายซื้อสินค้ารักษ์โลก แต่ราคาต้องเข้าถึงได้. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/news-update/299995/

นิยม กริ่มใจ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอนของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL, 7(2), 82-99.

ลัดดา ปินตา และ มานิตย์ มัลลวงค์. (2565). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 10(1), 1-24.

วสันต์พรรษ จำเริญนุสิต. (2562). ผู้ว่าฯ ลำปาง นำทีมรณรงค์ "ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก" เชิญชวนประชาชนใช้ถุงผ้า. สืบค้นจาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG191203083740460

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ราคาแค่ไหน?...ที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่าย สินค้า บริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากราคาเพิ่มไม่เกิน 20% จากปกติ. สืบค้นจาก https://www.Kasikornresearch.com /th/analysis/k-social-media/Pages/Eco-Product-02-04-21.aspx

สเต็ป อคาเดมี. (2560). 10 เหตุผลที่คุณควรทำ Inbound marketing สุดยอดการทำการตลาดด้วยกฎแรงดึงดูด ตั้งแต่วันนี้ แบบ Step by step. สืบค้นจาก https://stepstraining.co/strategy

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). ใช้ Content แบบไหน ให้โดนใจลูกค้า. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/knowledgesharing/articles/online-marketing-strategy-Ep2.aspx

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นจาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/Ebook/ NationalStrategy/book.html#p=17https://www.etda.or.th/th/knowledge-sharing/articles/online-marketing-strategy-Ep2.aspx

สุนีรัตน์ ปิ่นตุรงค์. (2563). ทัศนคติและพฤติกรรมต่อการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. New York: Wiley Eastern.

Henry. (1995). Consumer behavior and marketing action. (5th ed.) The United of America: International Thomson Publishing.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Nosrati, M., Karimi, R., Mohammadi, M., & Malekian, K. (2013). Internet marketing or modern advertising! How? Why? International. Journal of Economy, Management and Social Sciences, 2(3), 56–63.

Odden, L. (2012). Optimize how to attract and engage more customers by integrating SEO, social media, and content marketing. Hoboken, NJ: Wiley.

Likert. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Martin Fishbeic (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Schermerhorn, J.R., & Hunt, J.G. (2000). Organizational behavior (7th ed.) New York: John Wiley and Sons.