รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ การดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 329 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน โดยใช้แบบตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระยะที่ 3 ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ปัจจัยนำเข้า (4) วิธีการดำเนินการ (5) ผลผลิต และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากและประสิทธิภาพของคู่มือการใช้รูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
เกษมศักดิ์ ปราบณรงค์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). อนาคตของครุศึกษาไทยกับการสร้างความฉลาดรู้ คุรุสภาวิทยาจารย์. JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, 1(1), 1-7.
ยุภาลัย มะลิซ้อน. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. ตรัง: สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สุชาติ ผู้มีทรัพย์. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษานอกเขตชุมชนเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 11-21.
สุรินทร์ จาดเปรม. (2563). รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาสมรรถนะสูงของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 49-64.