การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายใน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน และ 3) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายใน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน ตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ขั้นที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาทดลองใช้ 3 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะการนิเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ขั้นการวางแผน สร้างค่านิยมร่วมกัน 2) รูปแบบ C-PORIR Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กลไกการดำเนินงาน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบความรู้หลังพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนา ทักษะการนิเทศตามรูปแบบหลังพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนา และความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2564). รายงานผลการนิเทศการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2564. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
กาญจนา วิเศษรินทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคราม: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม.
ดาวรรณ เอมนิล. (2555). การใช้กระบวนการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอน โรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษ ที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 302-314.
ประวิต เอราวรรณ์. (2562). การสร้างชุมชนวิชาชีพบนฐานโรงเรียน: บทเรียนจากโครงการโรงเรียนสุขภาวะ. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 86-106.
พุทธชาด แสนอุบล. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70), 171-181.
ไพโรจน์ บริบูรณ์, ฉลาด จันทรสมบัติ, วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล, และ รัชนิวรณ์รณ อนุตระกูลชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับอาจารย์นิเทศหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาพุทธศาสตร์, 5(4), 53-68.
มณีรัตน์ เย็นสวัสดิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)ของครูระดับประถมศึกษาโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, 5(2), 169-193.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนา สมภักดี. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
อธิศ ไชยคิรินทร์. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
Fong, M. L., & Malone, C. M. (1994). Defeating ourselves: Common errors in counseling research. Counselor Education and Supervision, 33(4), 356-362.
Keeves, P. J. (1988). Model and model building. In Educational research methodology and measurement: An international handbook. Oxford: Pergamon Press.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.