ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการลดขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ไพโรจน์ ด้วงนคร
วัชระ วัธนารวี
ขวัญเรือน สินณรงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการลดขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย
และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย โดยการสำรวจจากประชากรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 1,198,218 คน จาก 18 อำเภอ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 974 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณเพื่อหาปัจจัยสำคัญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


          ในภาพรวมด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับขยะอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ด้านบรรทัดฐานเกี่ยวกับขยะอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ด้านการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมเกี่ยวกับขยะอาหาร
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 ด้านความตั้งใจเหลือเศษอาหาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ด้านแรงจูงใจ
ในการเลือกอาหาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 ด้านการวางแผนเกี่ยวกับอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 ด้านทัศนคติทางการเงินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.91 ด้านอาหารส่วนเกินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 และด้านการจัดการขยะอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89
เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการจัดการขยะอาหาร คือ ทัศนคติทางการเงิน แรงจูงใจในการเลือกอาหาร การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม อาหารส่วนเกิน ความสัมพันธ์ทางสังคม ทัศนคติส่วนตัว และบรรทัดฐานส่วนตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรณิศ รัตนามหัทธนะ. (2562). Small Bites Big Flavor. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

กระทรวงมหาดไทย. กรมการปกครอง. สำนักบริหารการทะเบียน. (2566). จำนวนประชากรและบ้าน. สืบค้นจากhttp://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?

rcode=57&statType=1&year=61

เจษฎา เด่นดวงบริพัทธ์. (2561). วิกฤติขยะอาหาร มาตรการ นโยบายในระดับโลก และความเป็นไปได้ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2018/03/foodwaste-

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1977). Attitude-behavior relations: A theoretical analysis and review of empirical research. Psychological Bulletin, 84(5), 888.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (2000). Attitudes and the attitude-behavior relation: Reasoned and automatic processes. European Review of Social Psychology, 11(1), 1-33.

Aktas, E., Sahin, H., Topaloglu, Z., Oledinma, A., Huda, A. K. S., Irani, & Kamrava, M. (2018). A consumer behavioural approach to food waste. Journal of Enterprise Information Management, 31(5), 658-673.

Bhatti, S. H., Saleem, F., Zakariya, R., & Ahmad, A. (2023). The determinants of food waste behavior in young consumers in a developing country. British Food Journal, 125(6), 1953-1967.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1977). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Boston: Addison-Wesley.

Griffith, M. (2015). Item Analysis with Cronbach's Alpha for Reliable Surveys.

The Minitab blog, 0-1. สืบค้นจาก https://www.solutioncenterminitab.com/blog/item-analysis-with-cronbachs-alpha-for-reliable-surveys/

Gustavsson, J., Cederberg, C., Sonesson, U., Van Otterdijk, R., & Meybeck, A. (2011). Global food losses and food waste – extent, causes and prevention. Rome: FAO.