ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรและปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

สายชล ทาจี้
ฑัตษภร ศรีสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับเกษตรกรที่เป็นประชากรทั้งหมด 349 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-50 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน อาชีพหลักเกษตรกร ประสบการณ์อาชีพเกษตรกร 10 ปีขึ้นไป ถือครองพื้นที่เพาะปลูก 6-10 ไร่ ระยะเวลาถือครอง 11 ปีขึ้นไป และต้องการพัฒนา ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมมีค่าอิทธิพลรวมร้อยละ 12.10 (R2 = .121) ข้อมูลที่มีผลมากที่สุด คือ ระดับการศึกษา รองลงมา คือ ระยะเวลาถือครองพื้นที่เพาะปลูก ส่วนข้อมูลที่ไม่มีผล คือ เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพหลัก/อาชีพเสริม ประสบการณ์อาชีพเกษตรกร การถือครองพื้นที่เพาะปลูก และความต้องการพัฒนา ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน พบว่า มีค่าอิทธิพลรวมร้อยละ 54.40 (R2 = .544) ปัจจัยด้านที่มีผลมากที่สุดคือ คือ ทักษะของเกษตรกร รองลงมา คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการความรู้ของเกษตรกร ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรมุ่งพัฒนาทักษะเกษตรกรโดยเฉพาะการวางแผนเพาะปลูก การผลิตตามหลักและกระบวนการเกษตร การเลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ และความผิดพลาดการผลิต ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาพุ่ง 9.30 บาท/กก. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1013714

กรมส่งเสริมการเกษตร และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร. กรุงเทพฯ: โครงการเรียนรู้โดยการศึกษารูปแบบทางไกลของกรมส่งเสริมการเกษตร คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2566).พยากรณ์อากาศเกษตรเพื่อพืชและสัตว์เศรษฐกิจ. สืบค้นจากhttps://tmd.go.th/forecast/agromet/weekly/24042023

ชนม์รัศมิ์ เพียรพรเจริญ, กุลภา กุลดิลก และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 41–56.

ชูจิตร รุจพืช. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2567). การตลาด “แปซิฟิค” โชว์นวัตกรรม ข้าวโพดพันธุ์ดี”. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/marketing/article_61030

บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด. (2566). ข้อมูลรายชื่อเกษตรกรในความดูแลของตัวแทนดำเนินการให้บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด. สระบุรี: บริษัทฯ.

ประหยัด ถนิมแนบ. (2562). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรในพื้นที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย.

วัลย์จรรยา วิระกุล. (2565). ความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรแปลงใหญ่กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 158-169.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2562). หลักการตลาด Principles of Marketing. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์อิน บิส-เน็ซ เวิร์ด.

สมพงษ์ พรมที, นารีรัตน์ สีระสาร และบำเพ็ญ เขียวหวาน. (2565). แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10), 332-347.

สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรอิทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย จังหวัดนครสวรรค์. Thai Journal of Science and Technology. 8(6), 596-608.

สาธิต จันทร์เอี่ยม. (2563). ศึกษาศักยภาพการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : กรณีศึกษา เกษตรกรอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

สุทธิดา ฉายศรี. (2562). กลยุทธ์การจัดการกระบวนการผลิตและคุณภาพด้วยเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานในยุค 4.0. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน. (2566). ข้อมูลพื้นที่ทำการเกษตรรายอำเภอ ปีการผลิต 2565/66 จังหวัดลำพูน. สืบค้นจาก http://www.lamphun.doae.go.th/?page_id=148

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2559). ยุทธศาสตร์ของประเทศไทยด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสงกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นจากhttps://www.arda.or.th/datas/file/POLICY5.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566. สืบค้นจากhttps://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/Outlook_Q1_2566.Pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักฯ.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2007). Marketing an introduction. (8th ed). Upper Saddle River, NJ.: Pearson/Prentice-Hall.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Martin Fishbeic (Ed.), Attitude theory and measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.