ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน

Main Article Content

ญาณิกา หงสนันทน์
โสภา อำนวยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน 2) ระดับความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน 4) สร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน จำนวน 175 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ระดับความสำเร็จ
ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและปัจจัยด้านเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถพยากรณ์ความสำเร็จได้ร้อยละ 87.40 ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ สมการรูปคะแนนดิบ คือ  = .469 + .498X7 + .249X5 + .148X3 และสมการรูปคะแนนมาตรฐาน คือ  y = .520ZX7 + .296ZX5 + .162X3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงฯ.

นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 81 – 96.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566. (19 มีนาคม 2566). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนที่ 20 ก. หน้า 60 - 72.

พัชรัตน์ วุฒิญาณ. (2565). ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล: พหุกรณีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.

วิชิต แสงสว่าง. (2561). ผลการใช้บทเรียน E – Learning เรื่อง สัมมนาทางคอมพิวเตอร์ศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 131 - 145.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2553). การจัดการศึกษานอกระบบ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก https://panchalee.wordpress. com/2010/12/28/non-formal/

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608–609.