ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อยกระดับความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม

Main Article Content

ภูมินทร์ ธรรมของดี
ประเวศ เวชชะ
พูนชัย ยาวิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนโรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบทดสอบความสามารถ ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม จำนวน 635 คน การจัดกระทำข้อมูลแบบร้อยละ และวิธีการ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รองผู้อำนวย การและหัวหน้างาน จำนวน 4 คน ครูในกลุ่มสาระ 8 สาระๆ ละ 2 คน จำนวน 16 คน รวม 20 คน การจัด กระทำข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ สรุปเป็นความเรียง 2) ศึกษาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อความ สามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโรงเรียนแม่สรวยวิทยาคมใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยใช้ กระบวนการสนทนากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์จาก นำเสนอในรูปผังก้างปลา และสรุปเป็นความเรียง 3) เสนอยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการเพื่อยกระดับความ สามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแม่สรวย วิทยาคม วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ กระบวนการสนทนากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ ข้อมูลเป็นแบบการบันทึกย่อ และสรุปเป็นความเรียง ผลการศึกษา พบว่า

1. สภาพความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของโรงเรียนแม่สรวยวิทยาคมพบว่า ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2555-2556 ในระดับโรงเรียนอยู่ในระดับพอใช้ ตาม กลุ่มสาระ 8 สาระ ในภาพรวม อยู่ในระดับดี และจากการสัมภาษณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้

2. เหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโรงเรียน แม่สรวยวิทยาคม

2.1 เหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน จำแนกได้ ห้า กลุ่มปัญหาหลักที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คือ ทัศนคติของนักเรียนที่มองการอ่านการเขียนในแง่ลบ ขาด ความพยายาม ไม่ชอบวิชาภาษาไทย ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และความพร้อมของร่างกายและจิตใจ

2.2 ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน ประกอบไปด้วย ปัจจัยภายในด้านการบริหารจัดการของสถานศึกษา ด้านโครงสร้างและนโยบาย ด้านผลผลิต และการให้บริการโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ด้านบุคลากรในโรงเรียนมีการทำงานเป็นทีม และ ด้านครูที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน

2.3 ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน จำแนกเป็นสี่ด้านคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการปกครอง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านสังคมวัฒนธรรม

3. ยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมความสามารถในการ อ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของโรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม ที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำ นวน 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร สถานศึกษาสู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรทาง การศึกษาอย่าง เต็มศักยภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาหลักสูตร สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก เพื่อพัฒนาสู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาการจัดการ ศึกษา

 

Strategic Proposal for the Management to Enhance Reading, Analytical Thinking and Writing Abilities Related to 21st Century Education of Mae Suai Witthayakhom School

This research aimed 1) To study the reading, analytical thinking and writing abilities of students of Mae Suai Witthayakhom school. The research was done by using quantitative research. The research instruments were a test and an evaluation form on reading, analytical thinking and writing abilities. The data was collected with the sample group of 635 students of Mae Suai Witthayakhom school. The data was analyzed by using percentage. The qualitative research was done by using in-depth interview with 20 people of the sample group consisted of 4 assistant directors and the heads, including 16 teachers in 8 stands by selected 2 teachers in each stand. The data was analyzed by the content analysis and then presented in the descriptive form. 2) To study causes and factors affecting the reading, analytical thinking and writing abilities of students of Mae Suai Witthayakhom school by using qualitative research method, a focus group discussion was used to collect the data. The sample group was chosen from the purposive sampling consisted of 10 assistant directors, heads of academic affair and the heads of each strand, and then the data was analyzed by using memory To baser analysis and presented in fishbone diagram and the descriptive form. 3) To propose the management strategy to enhance reading, analytical thinking and writing abilities related to 21st century education of students of Mae Suai Witthayakhom school, the qualitative research was done by using qualitative research. The focus group discussion was used as the instrument to collect the data with the sample group of 10 assistant directors, heads of academic affair and the heads of each strand. The data was analyzed by using note –baser analysis and presented in the descriptive form. The results of the study were found that;

1. The reading, analytical thinking and writing abilities of Matthayom Suksa 1-6 students of Mae Suai Witthayakhom in the academic year 2012-2013 in the school level appeared at the fair level. The results of the study in 8 strands and from the interview, in general, appeared at the fair level.

2. Causes and important factors affecting reading, analytical thinking and writing abilities of students of Mae Suai Witthayakhom appeared that

2.1 Causes affecting reading, analytical thinking and writing abilities of students could be classified into five groups. The main problems which were relevant were bad attitude towards reading and writing, lack of attempt, dislike of Thai language, lack of analytical skill and unreadiness of body and mind.

2.2 Internal factors affecting reading, analytical thinking and writing abilities of students consisted of the school management, structure and policy, output and providing service which appeared that there were various kinds of activities organized by the school. The personnel factor appeared that the personnel in school worked in a team and another factor affecting reading, analytical thinking and writing skills of students was a teacher.

2.3 External factors affecting reading, analytical thinking and writing abilities of students could be classified into four aspects; economic, politics, information technology and socio-culture.

3. There were 5 strategies for improvement and development of the reading, analytical thinking and writing abilities related to 21st century education for students of Mae Suai Witthayakhom school as follows: The first strategy was development of the learner quality and the educational standard in every level based on the school curriculum for 21st century learning skills. The second strategy was teachers and the educational personnel development. The third strategy was the development of management system by using participatory management. The fourth strategy was the development of curriculum, media, and technology in learning management to serve the change of world and to develop students’ 21st century learning skills. The fifth strategy was the establishment of the network for development the educational management.

Article Details

บท
บทความวิจัย