การศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

พินิจ เชื้อแพ่ง
ธานี เกสทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหาสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้ง นี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ได้แก่ ครู จำนวน 302 คน จากการเปิดตารางของเครซี่ และมอร์แกน ใช้การเลือกตัวอย่างตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง ได้ค่าเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ได้ แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

สภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่าสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับสูงสุด คือ หลักคุณธรรม ระดับรองลงมา คือ หลักความรับผิดชอบ ระดับรองลงมา คือหลักความโปร่งใส ระดับรองลงมา คือหลักความคุ้มค่า ระดับรองลงมา คือหลักนิติธรรม และระดับต่ำสุด คือ หลักการมีส่วนร่วม

 

A Study on the State of Good Governance of School Administrators under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2

This study aimed to study the state of good governance of school administrators under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2. The samples used in the study were 302 teachers under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 according to the Krejcie .R.V. and Morgan, D.W. tables and simple random sampling. The tool used for the study was a questionnaire by the researcher himself. Its reliability coefficient was .91. The statistics used were percentage, mean and standard deviation.

The research findings were as follows:

The state of good governance of school administrators under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 as a whole was at a high level, and could be arranged in order from high to low as the principle of morality, the principle of responsiveness, the principle of transparency, the principle of effectiveness, the principle of equity and the principle of participation.

Article Details

บท
บทความวิจัย