การศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

เพชรรัตน์ ชวาลิต
นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จาก 147 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 147 คน และครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนละ 1 คน จำนวน 147 คน รวม 294 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา ได้แก่ สภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการศึกษาพบว่า

สภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{x} = 3.68) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้านทั้ง 5 ด้าน ที่มีการดำเนินงานสูงสุดลงมา ได้แก่ ด้านมาตรการส่งเสริม (\inline \bar{x} = 3.73) ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา (\inline \bar{x} = 3.71) ด้านผู้เรียน (\inline \bar{x} = 3.68) ด้านการจัดการศึกษา และด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (\inline \bar{x} = 3.67) ตามลำดับ

 

The operation management of early childhood education in schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2

The purpose of the study was to study the operation management of early childhood education in schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2. The samples were 294 administrators and teachers in schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2, selected by purposive sampling.

The data were collected by a set of 5-point rating scale questionnaires. Data analysis was done through frequency (f), percentage (%), arithmetic means (\inline \bar{x}), and standard deviation (S.D.).

The results of the study are summarized below:

The operation management of early childhood education in schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 as a whole was at a high level (\inline \bar{x} = 3.68). Accordingly the highest level five means were the support measures (\inline \bar{x} = 3.73), the identity of education (\inline \bar{x} = 3.71), the leaners (\inline \bar{x} = 3.68), management of education and creation of a learning society (\inline \bar{x} = 3.67).

Article Details

บท
บทความวิจัย