การศึกษาปัญหาการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำตามโครงสร้างซีท ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 2

Main Article Content

สราญรัตน์ อิสระชัยเสาวกุล
นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียน แกนนำตามโครงสร้างซีทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร จำนวน 28 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 28 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 234 คน และครูผู้สอน จำนวน 136 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 426 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่อง มือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ,ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผล การศึกษาพบว่า

ระดับปัญหาการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำตามโครงสร้างซีทของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำ ผู้รับผิดชอบ โครงการ ครูผู้สอนในโรงเรียนแกนนำและผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (\inline \bar{x} = 1.66) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกันโดยเรียงลำดับจากระดับปัญหา มากไปหาระดับปัญหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อม (\inline \bar{x} = 1.71) ด้านเครื่องมือ (\inline \bar{x} = 1.68) ด้านนักเรียน (\inline \bar{x} = 1.67) และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (\inline \bar{x} = 1.58) ตามลำดับ

 

Problems of Management Classes of the Seat Structure Schools in the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2

The purpose of this research was to study problems of management classes of the seat structure schools in the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2. The study samples were 28 administrators, 28 researchers, 234 parents and 136 teachers, totaling 426 persons. The research instrument was a questionnaire. The statistics used for analyzing the collected data included percentage, mean (\inline \bar{x}) and standard deviation (S.D.). The research findings were as follows:

Overall, problems of management classes of the seat structure schools by the opinions of administrators, researchers, teachers and parents in the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2 were at the low level (\inline \bar{x} = 1.66). When considering in each aspect it was at the low level too, such as environment (\inline \bar{x} = 1.71), tools (\inline \bar{x} = 1.68), students (\inline \bar{x} = 1.67) and activities (\inline \bar{x} = 1.58), respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย