แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง

Main Article Content

ดารารัตน์ ศรีพันธุ์
พูนชัย ยาวิราช
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านกลาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยหาค่าเฉลี่ย สถิติ ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ พบว่า สภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โรงเรียน บ้านกลาง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด คือ ด้าน การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจัดการกับอารมณ์ความเครียด อยู่ในระดับ ปานกลาง

แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ด้านการตระหนักรู้ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น พบว่า ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาและเลือกทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจและ มีความถนัดเพื่อสามารถค้นหาจุดเด่นของตนเองนำไปสู่การพัฒนาตนเองและเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ด้านวิเคราะห์ ตัดสิน ใจ และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า ควรส่งเสริมให้นักเรียนแก้ไขปัญหาโดยพิจารณาหาสาเหตุของ ปัญหาและระดมความคิดช่วยกันวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาและลงมือปฏิบัติและนำผลการปฏิบัตินำมาสรุป ผลเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น

แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ด้านการจัดการ กับ อารมณ์และความเครียด พบว่า ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้สติปัญญาในการจัดการกับอารมณ์และ ความเครียดที่เกิดขึ้น ใช้ความรู้และสติปัญญาเพื่อปรับเปลี่ยนอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ด้านการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นพบว่า ควรมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนโดยการทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งจะเป็นการ สร้างความสามัคคีเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับบุคคล อื่นในสังคมได้

 

A Guideline for the Management to improve the Life Skills of the Students in BanKlang School

This research aimsed to study management practices to improve the lives of Banklang school. The population in the study include school administrators and teachers a total of 21 instruments used in the study. Questionnaires and interviews The average Standard Deviation The results were as follows:

The study showed that A generality of management improve the life skills of the students in BanKlang school found that the overall is in high level. Considering a side found that the side with the highest mean isthe awareness and self-esteem and others. Next below level is the creation of good relationship with others at a high level And thelowestmean side that the emotional and stress control is moderate.

A guideline on the management improve the life skills of the students in BanKlang school in The awareness and self-esteemand others showed that should encourage the students to study and choose an activity that they are interested and skillful to be able to find self-distinctive point lead to self-development and be accepted form society.

A guideline on the management improve the life skills of the students in BanKlang school in analysis, decisions and solve problems creatively showed that should encourage students to solve the problems by determining the cause of the problem and brainstorm together and analyze to solve the problem and take action and take practical effect to summarize the results to improve and develop.

A guideline on the management improve the life skills of the students in BanKlang school in the emotional and stress control found that should support and encourage the students to use theirwisdom in control the emotional and stress and use the knowledge and intelligenceto change theunwanted mood to be better .

A guideline on the management improve the life skills of the students in BanKlang school inthe creation of good relationship with others found that should be encouraged the student to learn by doing activities with other people which help to create unity to change unwanted behavior , so that the students could be with others in society.

Article Details

บท
บทความวิจัย