แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กตามมาตรฐานการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันผักฮี้
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันผักฮี้ ผลจากการวิเคราะห์ เอกสารข้อมูลการรายงานประจำปี 2556 (SAR) ผลปรากฏว่า มาตรฐานที่ 2 ครูผู้ดูแลเด็กมีความสามารถใน การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภาพรวมคุณภาพอยู่ใน ระดับดี จากผลการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันผักฮี้ จำนวน 5 คนโดยหัวหน้าหน่วยงานภาพรวม คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินตนเองของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตาม มาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 5 คน ภาพรวมคุณภาพอยู่ใน ระดับดีมาก
2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก ตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันผักฮี้ ได้แก่ บุคลากร คือ ครูผู้ดูแล เด็กจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาตนเองในเรื่องของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ลำดับ ต่อมา คือ กระบวนการบริหารงานในองค์กรที่ต้องมีการทำงานที่เป็นระบบ มีความต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของ การพัฒนา กระบวนการบริหารจัดการสื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วิธีการประเมินพัฒนาการเด็กที่ไม่หลาก หลาย ไม่ต่อเนื่อง ตลอดจนนโยบายการจัดสรรบุคลากรไม่เพียงพอต่อภาระงาน ทำให้จัดประสบการณ์เรียน รู้ได้ไม่เต็มศักยภาพ
3. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กตามมาตรฐานการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันผักฮี้ โดยการใช้กระบวนการ บริหารวงจรคุณภาพ (Deming) PDCA มาใช้ในการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กที่มี คุณภาพอยู่ในระดับดี ให้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม โดยการวางแผน การดำเนินงานร่วมกันใน ด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ เช่น การอบรม สัมมนา การศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติ งานในหน้าที่ การลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ การสร้างภาคีเครือข่ายในการระดมความคิด ระดม ทรัพยากรในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อย่างต่อเนื่อง และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก และนำผลการตรวจสอบการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ เพื่อร่วมกัน หาแนวทางในการปรับปรุงข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรค และพัฒนาในส่วนที่ดำเนินการแล้วให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการนำแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ ในส่วน ที่ได้ดำเนินการที่อยู่ในระดับดีเยี่ยมอยู่แล้วต้องดำเนินการควบคุมคุณภาพอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ระดับคุณภาพลดลง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Guidelines for the Management to Develop the Operation of Child Care Teachers at San Pak Hee Child Development Center Based on Educational Standard of Local Administrative Organization
The purposes of this research were to study the state and factors affecting the quality of the child care teachers’ performance based on the educational standard of local administrative organization, and to formulate the management guidelines for the development of the child care teachers’ performance based on the educational standard of local administrative organization. The population consisted of 5 child care teachers and 3 administrators at San Pak Hee Child Development Center Moo 3 under Mae Sai Mittraphap Municipality in Chiang Rai province. This policy research employed SAR (Self-Assessment Report), observation and supervision form, self evaluation form of child care teachers based on the educational standard of local administrative organization, and focus group discussion. The data was analyzed by using content analysis.
The results of the study were:
1. The overall state of the child care teachers’ performance at San Pak Hee Child Development Center from the analysis of SAR in the academic year 2013 appeared that in the second indicator, the child care teachers’ performance on the effective learning experience management focused on learner- centered method was at the good level. The results from the supervision of 5 child care teachers by the head of the organization, in general, were at the highest level. The result from the self evaluation of 5 child care teachers on the learning experience management based on the educational standard oflocal administrative organization, in general, was also at the highest level.
2. The important factor affecting quality of the operation of the child care teachers at San Pak Hee Child Development Center based on the educational standard of local administrative organization was the personnel. That is, the child care teachers were needed to be developed on the learning management of learner- centered method. Another important factor was the administration in the organization must be done systematically and continuously in regard to the development, media management, technology, and innovation should be improved. The assessment of child development was not various and consistent. The personnel recruitment policy was insufficient for the workload which affected the learning management of teachers.
3. The management guidelines for the development of the child care teachers’ performance at San Pak Hee Child Development Center was the use of Deming s’ quality cycle: PDCA in the management of the teachers’ performance to develop the quality from good level to the best and excellent level. The personnel development should be planned systematically such as providing the training or seminar to increase the capacity, and the implementation should be done as planned. The network should be established to allocate the idea and resources in the development of the learner- centered learning management. The school curriculum should be developed continuously. The committee for supervision, monitoring, and evaluation of the child development center operation should be appointed and the result from the evaluation should be informed in the meeting to formulate the guidelines improving the weaknesses and obstacles for the quality based on the standard continuously. The motivation theory should be used to create the morale support for effective performance. Moreover, the excellent performance should be controlled and maintained in order to meet with the quality based on the educational standard of the local administrative organization.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว