แนวทางการบริหารการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่องานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

นัฐชภัทร์ ขัติยะ
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
พูนชัย ยาวิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีดอนมูล ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยสถาบัน (Institute Research) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ออกแบบโดยแบ่งเป็นขั้นตอนตามคำถามวิจัยดังนี้โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ตามวิธีของ Likert ให้สอดคล้องการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยศึกษาสภาพการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนิน 6 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มาตรฐานที่ 2 ด้านบุคลากร มาตรฐานที่ 3 ด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มาตรฐานที่ 4 ด้านวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตรมาตรฐานที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และมาตรฐานที่ 6 ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยจากแหล่งข้อมูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล นักวิชาการ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 76 คน 2) เพื่อศึกษาเหตุและปัจจัยสำ คัญที่มีผลต่อการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีดอนมูล ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 โดยใช้เครื่องมือ คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ (Key Informant) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล นักวิชาการ ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 11 คน

ผลการวิจัยพบว่า

สภาพการบริหารศูนย์ตาม มาตรฐานที่ 1 ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยู่ในระดับคุณภาพ ดี มาตรฐานที่ 2 ด้านบุคลากร อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง มาตรฐานที่ 3 ด้านอาคาร สถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลางมาตรฐานที่ 4 ด้านวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลางมาตรฐานที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนอยู่ในระดับคุณภาพ ดีและมาตรฐานที่ 6 ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเหตุปัจจัยปัจจัยที่เป็นปัจจัยที่สนับสนุนและฉุดรั้งคุณภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคือปัจจัยภายในอันได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานการศึกษาระดับปฐมวัย จบการศึกษาปฐมวัย มีการพัฒนาตนเองในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่จำนวนครูผู้ดูแลเล็กและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กมีจำนวนไม่เพียงพอ งบประมาณที่มาสนับสนุนด้านการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหลายส่วนแต่งบประมาณยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาคารเรียนที่ไม่ได้มาตรฐานผุพังและมีบริเวณพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมต่อจำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นอุปสรรคต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กเครื่องมือ/วัสดุอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่ทันสมัยไม่เพียงต่อการจัดประสบการณ์ทำให้จัดการเรียนการสอนได้ไม่เต็มศักยภาพ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมชุมชนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา

แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนินงานของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีดอนมูล โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (The Deming Cycle) ประกอบด้วยด้านการวางแผน (Plan) ด้านการดำเนินงาน (Do) ด้านการการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล (Check) ด้านการปรับปรุงงาน (Act)

 

Guidelines for the Participative Management of the Guardians on Academic and Activity Based on the Curriculum of Child Development Centers under Bandu Sub-District Municipality in Muang District, Chiang Rai Province

This institute research aimed to 1) examine the Performance Standard in the administration of the Child Development Center 2) identify the causes and factors affecting the effectiveness of the Child Development Center administration 3) propose the appropriate administrative guidelines for the Child Development Center. Mixed method was used to collect both quantitative and qualitative data. Seventy-six questionnaire, Likert’s five-scale rating, were distributed and collected from the Chief Executive of the SAO, Committee of Child Development Center, Chief Administrator of the SAO, academicians, teachers, teacher assistants and parents. Based on the criteria of Office for National Education Standards and Quality Assessment, six performance standards were emphasized in the questionnaire items; 1) Administration 2) Personnel 3) Buildings, environment and safety 4) Academic and supplementary activities 5) Community participation and 6) Promotion of child development networking. Consequently, a Focus group discussion was arranged with the eleven Key Informants, including; Chief Executive of the SAO, Committee of Child Development Center, Chief Administrator of the SAO, academicians, teachers, teacher assistants and parents.

This study revealed that opinion toward the administration of the Child Development Center, Community participation and Promotion of child development network in were in good level while the standards of Personnel, Buildings, environment and safety as well as Academic and supplementary activities were in medium level.

Considering the circumstance of this result, internal factors were the most crucial influences. Despite the qualification of the personnel who had acquired the Bachelor degree in Early Childhood Education as the fulfillment of their professional development, there is a shortage in their number. There were not enough teachers in the center. In addition, budget allowances from various sources were insufficient for annual management. Furthermore, old buildings, limited space, including the lack of teaching materials and current equipment become the obstacles to the efficient pedagogy. However, regarding the positive point, the participatory administration allowed the parents and its community to support some learning equipment.

To effectively achieve the Performance Standard of the Child Development Center, Deming’s PDCA cycle should be employed to Baan Sri Don Moon Child Development Center’s administrative procedure: Plan, Do, Check, Act.

Article Details

บท
บทความวิจัย