แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ชวนพิศ พร้อมสุข
พูนชัย ยาวิราช
ประเวศ เวชชะ

Abstract

การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถาน ศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) 2. เพื่อศึกษาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) 3. เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 34 คน เครื่อง มือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) แบบสอบถามเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียน รู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) และแบบสัมภาษณ์แนวทางการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ การวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

สภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ตามหลักกระบวนการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ ( P-D-C-A ) ตามกรอบ แนวคิดของเดมมิ่ง (Deming) มีคุณภาพการดำเนินงานโดยภาพรวม มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก แยก เป็นรายด้านพบว่า การปฏิบัติในแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ ด้านการวางแผน การบริหาร จัดการแหล่งเรียนรู้ภายใน รองลงมาได้แก่ ด้านการดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายใน ถัดมาได้แก่ ด้านการนำผลการประเมินการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในไปใช้

เหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชา นุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ตามหลักการบริหารทรัพยากร (4 Ms) โดยภาพรวมมีระดับอยู่ใน ระดับมาก ซึ่งเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ ได้แก่ ด้านครู (Man) รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (Management) ถัดมาได้แก่ ด้านงบประมาณ (Money)

แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) ตามหลักกระบวนการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ ( P-D-C-A ) ตามกรอบแนวคิดของเดมมิ่ง (Deming) ดังนี้ 1. ด้านการวางแผนการบริหารจัดการ ควรมีการวางแผนพัฒนาครูให้มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการแหล่งเรียน รู้ให้มีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้เต็มศักยภาพการใช้สื่ออุปกรณ์ นวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษา 2. ด้านการดำเนินงานบริหาร ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะการสอนและปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนรู้วิธีใหม่แก่ผู้เรียน มีรายวิชา/กิจกรรมที่หลากหลายจัดหาหรือสร้างแหล่ง เรียนรู้ที่หลากหลาย จัดให้ครูมีเวลาปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเต็มที่สร้างบรรยากาศ แห่งการเรียนรู้ให้บุคลากรเกิดการใฝ่รู้ จัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีและสื่อ ให้พร้อมและกระตุ้น ให้ครูใช้ประโยชน์จากสื่อเหล่านี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 3. ด้านการตรวจสอบ ทบทวน ติดตามการใช้ ควรมีการนิเทศแบบกัลยาณมิตรด้วยกิจกรรมการนิเทศ ที่หลากหลาย ประเมินบุคลากร ตามจรรยาบรรณวิชาชีพโดยยึดแนวทางการประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพของสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จัดทำเป็น (SAR) 4. ด้านการ นำผลการประเมินไปใช้ ควร มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและใช้วิธีการบริหารงานบุคคลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ บุคลากรที่มีอยู่ให้สามารถร่วมดำเนินการตามเป้าหมายนำข้อมูลที่ได้ ไปใช้ในการปรับปรุง ส่งเสริมและพัฒนา แหล่งเรียนภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน

 

The Management Approach of Learning Resources in Educational Institution Municipality 1 School (Phayaoprachanukul), Maung District, Phayao Province

This aims of study were: 1) to study the circumstance of learning resources management in educational institutions of Municipality 1 School (Phayaoprachanukul); 2) to investigate causes and factors the learning resources management in Municipality 1 School (Phayaoprachanukul); 3) to explore the management of learning resources management in educational institutions of Municipality 1 School (Phayaoprachanukul), Maung District, Phayao Province. The population was 34 participants consisting of school administrators, teachers. The researches instruments used for data collection were an observation from, The questionnaire in causes and factors the effect of learning sources management in Municipal 1stPhayaoprachanukul school. And the interviewer in the way of learning sources management in educational data was analyzed using deviation and content analysis.

The results of the research revealed as follows. The state of learning sources management in educational institutions are overall in height level. Can separate that the mean of practice, the first is learning sources management planning, the second is learning sources management operating and the third is keep the result applying in to learning sources.

The effect of learning sources management in educational institutions of the Municipal 1stPhayaoprachanukul School Maung District, Phayao Province overall in height level. Can separate that the mean of practice, the first is Man (teachers), the second is Management and the third is Money.

The findings were summarized that the way of learning sources management in educational institutions that conform to develop of the Municipal 1stPhayaoprachanukul’s School Firstly, the paining of learning sources, various arranged in learning sources activities, good location and environment to learning, potential in child center process, instructional media, innovation, technology, the benefit of learning sources by participate in parents. Secondly, operations in of learning sources management in educational, we should had develop and change in learning process work shop for learners, multi in subject, activities and create new learning sources for child. Provide teachers with operational efficiency, good atmosphere, personal interest, provide new instruction media, and new technology in using about learning process for develop in analytical. Thirdly, checking, reviewing and following in learning sources using self-study report of teacher (SAR) in form of office of national education standards and quality assessment. And fourthly, applying the result in personal development and entrance in personal management for increase in capability personal that they can join in the goal of improving, promoting and developing in learning sources in educational for learning process.

Article Details

Section
Research Articles