ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านใหม่ประกอบราษฎร์วิทยานุกูล เทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อนุสรา ขัติทะ
ประเวศ เวชชะ
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม จากประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และครู 18 คน รวมทั้งสิ้น 19 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม และเพื่อ ศึกษาเหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การ บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในช่วงปีการศึกษา 2558 -2560 ใช้เครื่องมือแบบประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ (Key Informant) ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้ทรง คุณวุฒิ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการกองการศึกษา ปลัดเทศบาล รองนายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรี จำนวนทั้งสิ้น 7 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

สภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านใหม่ประกอบราษฏร์วิทยานุกูลตาม กรอบคิด POSDCoRB ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดโครงสร้างขององค์กร (Organizing) การบริหาร งานบุคคล (Staffing) การอำนวยการ (Directing) การประสานงาน (Co- Coordinating) การรายงาน (Reporting) และการบริหารงบประมาณ (Budgeting) พบว่า ข้อรายการที่อยู่ในระดับคุณภาพ ดี ได้แก่ การ จัดโครงสร้างขององค์กร (Organizing) และการบริหารงานบุคคล (Staffing) ส่วนรายการข้ออื่นๆ อยู่ในระดับ คุณภาพ ปานกลาง และสภาพที่สะท้อนความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ 3 ประเภท ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ ประเภท ครูผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

เหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงาน งบประมาณที่จัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด วัสดุอุปกรณ์ที่มีในสถานศึกษา รวมถึง การบริหารจัดการตาม หน้าที่ของผู้บริหาร

ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านใหม่ประกอบราษฏร์วิทยานุกูลในช่วงปีการ ศึกษา 2558-2560 ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมควรจะประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อมรอบ โดยการจัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ 2) ยุทธศาสตร์ ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ โดยการจัดทำโครงการห้องเรียนคุณภาพ การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ทันสมัยมาใช้ในการ เรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ห้องเรียนมีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย 3) ยุทธศาสตร์ ด้านบุคลากร พัฒนาครู โดยการจัดโครงการยกระดับครูสู่ศตวรรษที่ 21พัฒนาครูให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่ 21 (C-Teacher) และโครงการสรรหาบุคลากร โดยการจัดหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก สถานศึกษาเข้ามาจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชาที่ขาดแคลน และบุคลากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

The Strategy of Learning Environment Administration At Baanmai Municipality School 2 in the 21st Century

The purposes of this policy research were 1) to examine the administration of learning environment in Baanmai Municipality School 2) to identify the causes and factors affecting the effectiveness of learning environment administration at the school and 3) to propose the appropriate three- year administrative strategies for learning environment to the School (2015 - 2017).Quantitative data were collected by a set of questionnaire, inquiring a school director and 18 teachers while a focus group discussion was arranged for qualitative data collection. Nineteen practitioners were included as the key informants of this study, namely, the Mayor of the municipality, Deputy Mayor, Municipal Clerk, Advisory Officers, Director of the Educational Division, School Director, Chief of the Academic Division and Teachers. Respectively, the data were analyzed by using percentage, frequency, modality and content analysis. Fishbone Model and descriptive explanation were used to demonstrate the findings.

POSDCoRB Model (Planning, Organizing, Staffing, Directing, Co-operating, Reporting and Budgeting) was employed as the analysis framework of learning environment administration. The finding revealed that the satisfaction of the practitioners toward the Organizing and Staffing aspects was at qualified level whereas the overall satisfaction toward other aspects was found at medium level. This included the aspects of learning environment, materials and academic personnel.

The factors affecting the administration were identified as internal elements, including practitioners, budget allowance, learning materials and administration management.

In order to acquire the effective learning environment management, three-year administrative strategies (2015-2017) should be proposed in three main aspects. Firstly, the school surroundings, buildings and landscape should be improved to enhance the learning environment. Secondly, modern learning materials, learning-aid equipment and teaching technology should be implemented for assistive classrooms. Finally, academic personnel should be equipped with C-teacher skills of 21st Century. This also includes potential participations from the community. For instance, local experts could be beneficial in terms of local wisdom and personnel deficiency.

Article Details

บท
บทความวิจัย