แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านเกือบทุกด้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจและด้านการมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา ที่มีระดับความคิดเห็นปรากฏตามเป้าหมาย มี การติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดทั้งมีการปรับปรุง และพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
เหตุและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อมีการส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โดยภาพรวมและเกือบทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการบริหารจัดการมีระดับความ คิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือนั้นมีระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเชียงราย ปัญญานุกูล ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ วางแผนหรือวิธีการต่างๆ ที่เป็นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ด้านการมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา รวมทั้งลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อเป็นการสร้าง ปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้านการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ ควรให้ชุมชนเข้ามาใช้แหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ ควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนมี ความรู้ ความเข้าใจในแนวปฏิบัติการประเมินผลโครงการ ด้านบุคลากร ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมใน กระบวนการบริหาร เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ ที่กำหนด ด้านงบประมาณควรใช้งบประมาณให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด ด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ควรมีผู้รับผิดชอบและใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือให้เหมาะสมกับการจัดแหล่งเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ ต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการวางแผน การจัดกิจกรรม และการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาและชุมชน เพื่อให้เกิดผลและมีประสิทธิภาพ
Guidelines for Promotion of Community Involvement on the Learning Resource Management in Chiang Rai Panyanukul School e
The aims of this thesis were to 1) investigate the state of the community involvement in the management of the learning resource in Chiang Rai Panyanukul School, 2) to find out the important causes and factors affecting to the community involvement and 3) to study the guidelines for the community involvement
The results of the research investigate that the state of community involvement in the management of the learning resource in Chiang Rai Panyanukul school in overall investigate aspects was at the average level except the involvement in the decision making and the sacrifice on the development which appeared as the goal set level, The monitoring and evaluation, improvement and development were done systematically and continuously.
The important causes and factors affecting to community involvement in the management of the learning resources in The school, in general, and in investigate aspect was at the high level except the management was ranked at the average level, The personnel, budget, material and equipment were at the high level.
The guidelines for promotion of community involvement in the management of the learning resource in Chiang Rai Panyanukul school appeared that in terms of decision making involvement, the community should have a chance to be involved with the decision making in planning or methods in learning resources development in school. In terms of the sacrifice on the development, the community should participation in the school activities to establish the good relationship. In terms of the benefit sharing involvement, the learning resource in school should be used by the community. In terms of the project evaluation involvement, the knowledge and understanding on the project evaluation practices should be promoted for the personnel in the school and the community. In terms of the personnel, the involvement on the management to have the collaboration in the implementation as the goal set. In terms of the budget, the budget should be effectively used as the objectives set. In terms of the materials and equipment, the person charge should be assigned and the material and equipment in should be used properly with the learning resources. In terms of the management, the involvement principle and the collaboration in planning on activity organization and participation in the activity of the school and community should be supported for the effective results.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว