การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3

Main Article Content

ชนก แสนติยศ
พูนชัย ยาวิราช
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวัน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 เพื่อหาแนวทางการ บริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษากลุ่มที่ 1 ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน จำนวน 84 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานโครงการอาหารกลางวัน ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่า สถิติร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันในทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากแต่ถึงแม้จะมี ระดับการปฏิบัติมาก ก็ยังปัญหาที่พบมากคือด้านการนิเทศและการประเมินผลโครงการอาหารกลางวัน ยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ขาดการมีส่วนร่วมในการนิเทศของผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ไม่เพียงพอและยังขาดความชำนาญและ ด้านงบประมาณล่าช้าและไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ได้มีแนวทางแก้ปัญหาซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการจัดการโครงการอาหารกลางวัน ได้แก่ ควรให้มีการวางแผน การนิเทศและประเมินผลโครงการโดยจัดให้มีบุคลากรภายนอกมีส่วนร่วมกำหนดรูปแบบให้ชัดเจน ให้มีการวางแผนจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมคุ้มค่า กำหนดผู้รับผิดชอบ ในการดูแลและบำรุงรักษา ประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน ขอรับการ สนับสนุนบุคลากรภายในชุมชน รวมทั้งขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น

 

Lunch Project Administration of Basic Education Institutions in Special Area Under Chiang Rai Primary Educational Service Office Area 3

The aim of this thesis was to study the condition, problem and guideline for the administration of lunch project of basic education institutions in the special area under Chiang Rai Primary Educational Service Office Area 3. The population of this study consisted of the first group was 84 administrators and teachers who were responsible in school lunch project and the second group was 15 educational administrators, the administrators who could manage lunch project effectively including educational supervisors and related academicians. The research instruments were a questionnaire and an interview form. The data was analyzed by using mean, percentage and standard deviation.

The results of the study were found that the conditions of lunch project administration in every aspect were done at the high level, however; the problems were found: the lack of the supervision and evaluation system; and the participation of related people the supervisory process. and the participation of the related people in the supervision. Moreover, the equipment and the personnel were insufficient and the staff also lacked of expertise in lunch project. The budget was not enough as well. The guidelines from the interview of educational administrators and the administrators who could manage lunch project effectively included; the determination of the clear supervision and evaluation system should be planned by having the participation of the outsiders. The plan for allocation of the equipment worthily should be done. The responsible person should be assigned to maintenance the equipment and the meeting to inform the clear roles should be held besides, the schools should request for the support on the personnel from the community and the budget support from the other organizations as well.

Article Details

บท
บทความวิจัย