การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

อารีย์ อินนันชัย
กิตติศักดิ์ นิวรัตน์
สุชาติ ลี้ตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ตามสมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของ พนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแปรสังเกตได้ ประกอบด้วย ความมุ่งมั่น ความกระตือรืนร้น การพัฒนาระบบหรือวิธีการทำงานให้ได้ผลดีขึ้น ความตั้งใจที่จะให้บริการที่ดี ความพยายามที่จะให้บริการที่ดี ความสนใจใฝ่รู้เพื่อสั่งสมพัฒนาศักยภาพของตน การศึกษาหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้ปฏิบัติ งานได้ดี ครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้อง มุ่งประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ไม่ประพฤติการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อ ความเสียหายแก่ ผู้อื่น ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น การประสานงานและการให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ตัวแปรแฝง ประกอบด้วย การมุ่งผล สัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมและการทำงาน เป็นทีม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน วิชาการ (สาย ค.) จำนวน 492 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างจากค่าสถิติระดับความเหมาะสม โดยใช้โปรแกรมลิสเรล

สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (\inline \chi ^{2}= 5.57, df = 14) ซึ่งมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.40 ค่าไค-สแควร์แตกต่างจากศูนย์อย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าไม่ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลตามทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์และค่าดัชนีวัด ระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index : GFI = 1.00) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนปรับแก้ (Adjusted Goodness of Fit Index : AGFI = 0.99) และมีค่าเข้าใกล้ 1 รวมทั้งดัชนีรากฐานของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (Root Mean Squared Residual : RMR = 0.006) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่า โมเดล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

2. เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า สมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตัวบ่งชี้การพัฒนาระบบหรือวิธีการทำงานให้ได้ผลดีขึ้น มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.87 สมรรถนะด้านการบริการที่ดี ตัวบ่งชี้ความ เต็มใจที่จะให้บริการที่ดี มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.91 สมรรถนะด้านการสั่งสม ความ เชี่ยวชาญในงานอาชีพ ตัวบ่งชี้ความสนใจใฝ่รู้เพื่อสั่งสมพัฒนาศักยภาพของตน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.88 สมรรถนะด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม ตัวบ่งชี้ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อความเสีย หายแก่ผู้อื่น มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ มากที่สุด คือ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.96 และสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม ตัว บ่งชี้ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.93

3. เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้องค์ประกอบสมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ ที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทั้ง 5 สมรรถนะ สามารถจัดเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักของแต่ละสมรรถนะจากมาก ไปหาน้อยได้ดังนี้ คือสมรรถนะด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม สมรรถนะ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ สมรรถนะด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพและสมรรถนะด้านการบริการที่ดี โดยมีน้ำหนักองค์ ประกอบ 1.00, 0.98, 0.93, 0.84 และ 0.67 ตามลำดับ

 

A Development of Performance Competency Indicators of University Employee for Academic Supporting Staff of Chiang Rai Rajabhat University

The purposes of this research were to develop the indicators of performance competency of university employee for academic supporting staff of Chiang Rai Rajabhat University, to analyze the confirmatory factor analysis of the performance competency indicators of university employee for academic supporting staff of Chiang Rai Rajabhat University. The variables of this research were the observable variables consisted of the spirit, the curiosity, the development of the working method or system for the better job, the willing to have service mind, the attempt to have service mind, the curiosity to develop the capacity, study the new knowledge for the better job, self control, and behave well, being social responsibility, never have the exploitation, never destroy others, willing to work with others, Coordination and work collaboratively with other. The latent variables were achievement motivation, service mind, expertise, integrity, and teamwork. The sample group was 492 university employee who were the academic supporting staff of Chiang Rai Rajabhat University.

The research instrument was a questionnaire. The data were systematically analyzed by using descriptive statistics and the confirmatory factor analysis of the indicator of performance competency of university employee for academic supporting staff of Chiang Rai Rajabhat University was examined construct validity from the level of appropriateness statistics by using LISREL model. The results of the study were found that;

The analysis of the confirmatory factor analysis of the performance competency indicators of university employee for academic supporting staff of Chiang Rai Rajabhat University model fitted with the empirical data by considering from Chi-square that showed no statistically significant difference (\inline \chi ^{2} = 5.57, df = 14) with the probability = 0.40. which meant that it accepted the main hypothesis. The goodness of fit index : GFI was 1.00, and the adjusted goodness of fit: AGFI was .99, which was near 1, while the root mean square residual: RMR was 0.006 which was near 0 and this meant that the model is well fitted with the empirical data.

2. When considered in each factors, it appeared that in the achievement motivation competency, the factor loading of the development of the working method or system for the better job indicator was the highest (0.87). In the service mind competency, the attempt to have service mind indicator was the highest (0.91). In the expertise competency, the curiosity to develop the capacity indicator was the highest (0.88). In the integrity competency, never destroy others indicator was the highest (0.96), and teamwork competency, willing to work with others indicator was the highest (0.93).

3. When considered the factor loading of the performance competency indicators of the university employee for academic supporting staff from the analysis of the confirmatory factor analysis in 5 competencies, they were ranked from the highest to the lowest as follows; the integrity, the teamwork, the achievement motivation, the expertise, and service mind which appeared 1.00, 0.98, 0.93, 0.84, and 0.67, respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย