ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิชาการโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิชาการ หลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Course: IEC) ของโรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

กัญญ์ภัคพิมพ์ นามเงิน
ประเวศ เวชชะ
พูนชัย ยาวิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิชาการหลักสูตร ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Course : IEC) 2. เพื่อหาเหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการดำเนินงานวิชาการ โครงการห้องเรียน IEC 3. เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิชาการโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิชาการหลักสูตรภาษา อังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Course : IEC) ของโรงเรียนอนุบาลแม่สาย(สายศิลปศาสตร์)ในศตวรรษที่ 21 ประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิชาการหลักสูตรภาษา อังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Course : IEC) ของโรงเรียนอนุบาลแม่สาย(สายศิลปศาสตร์) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 ประเภท ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ครูชาวต่างชาติในโครงการห้องเรียน IEC แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือ 1. แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการ ดำเนินงานวิชาการโครงการห้องเรียนIEC 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับเหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานวิชาการ งาน วิชาการโครงการห้องเรียน IEC และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เพื่อหายุทธ ศาสตร์การบริหาร จัดการงานวิชาการโครงการห้องเรียนพิเศษ ด้านวิชาการหลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Course: IEC) ของ โรงเรียนอนุบาลแม่สาย(สายศิลปศาสตร์) ที่ในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการ วิเคราะห์เนื้อสำคัญ (Content Analysis )

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการดำเนินงานวิชาการโครงการห้องเรียน IEC โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับ 3 มีสภาพการดำเนินงานปาน กลาง

2. เหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการดำเนินงานวิชาการโครงการห้องเรียน IEC ด้านผู้ บริหาร ครู และสภาพ ทั่วไปของสถานศึกษา มีผลต่อคุณภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านชุมชน มีผลต่อคุณภาพการดำเนินงานอยู่ใน ระดับมาก

3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิชาการโครงการห้องเรียน IEC ของโรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) ใน ศตวรรษที่ 21 มี 2 กลุ่มยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์กลุ่มที่ 1 มี 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ใช้การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) และยุทธศาสตร์กลุ่มที่ 2 มี ประเด็น 7 ยุทธศาสตร์ ใช้การบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (Quality Control Circle)

 

The purposes of this research were 1.To study the state of Academic Intensive English Course (IEC) at the Anubanmaesai (Saisinlaprasart) school 2. The factors affecting the effectiveness of academic administration of the IEC project 3. To propose the strategy of administration in Academic Intensive English Course (IEC) project at Anubanmaesai (Saisinlaprasart) school in the 21st century. There were ten populations of the IEC project which of administrators and teachers. The research instruments were interview conducted foreign teachers within IEC project, questionnaires and focus group discussion. The statistics used for mean, standard deviation and content analysis.

The results of the research were:

1. The state of the academic administration of the IEC project was at moderate level.

2. The factors affecting the effectiveness of academic administration of the IEC project show that the administrators, teachers and the general conditions of school were at the highest level and the community was at a high level

3. The strategy of administration in Academic Intensive English Course (IEC) project at Anubanmaesai (Saisinlaprasart) school in the 21st century using content analysis and focus group discussion, there were 2 groups. There were 2 subject strategies in the 1st group administration for Risk Management. There were 7 subject strategies in the 2nd group administration for Quality Control Circle.

Article Details

บท
บทความวิจัย