การจัดประสบการณ์เกมการศึกษาตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2

Main Article Content

มาลิณี วิชัยโน
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาตามแนวคิดสมอง เป็นฐานด้านการสังเกต ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ และด้านการนับ เพื่อเปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาตามแนวคิดสมองเป็นฐานและเพื่อศึกษาพฤติกรรมการ เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ประชากรที่ใช้ในการ วิจัย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน ในโรงเรียน เทศบาลตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาตามแนวคิดสมองเป็นฐาน จำนวน 8 แผน แบบทดสอบทักษะคณิตศาสตร์ และแบบสังเกต พฤติกรรม ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน โดยมีความเหมาะสมในระดับมาก

ผลการวิจัยพบว่า มีค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์เท่ากับ 81.67/86.42 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา ตามแนวคิดสมองเป็นฐานมีคะแนนหลังการจัดประสบการณ์เฉลี่ยร้อยละ 89.42 ซึ่งสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 85.42 และผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เกมการ ศึกษาตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

 

Learning Management by Educational Games on Brain-Based Learning Lesson Plan for Development of Mathematical Skills for the Second Year Students of Kindergarten

The purpose of this study were to develop and to test the efficiency of a lesson plan based on educational games on brain-based learning approach focusing on 4 skills: observation, comparison, classification, and accounting skills. The other objective of this study was to compare mathematical skills and to investigate the learning behaviors of the second year students of kindergarten before and after participating in educational games on brain-based learning lesson plans.

The research population was a group of 30 students aged 4-5 years in their first semester of second year of kindergarten during the academic year 2014 in Pong Municipality School, Pong District, Phayao. The research instruments included 8 lesson plans, a mathematical skill test and behavior observation forms approved by 3 specialists with high level of appropriation.

The research findings indicated that the efficiency of lesson plans regarding the standardized criteria was 81.67/86.42, which were above the expected criteria of 80/80. After the treatment by educational games, the average score of mathematics skills of the experimental group increased from 85.42 to 89.42. Overall, the results revealed that the learning behaviors of the students participating in educational games focusing on 4 learning skills reached higher levels in accordance with the hypotheses of this research.

Article Details

บท
บทความวิจัย