การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดพะเยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36

Main Article Content

พิมสิริ อ่อนนวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับนักเรียน ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การ อบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล สัมพันธภาพภาพระหว่างบุคคล การให้เหตุผลเชิงจริยธรรม และปัจจัยระดับห้องเรียน ได้แก่ การ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และบรรยากาศในชั้นเรียน กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และ เพื่อศึกษาค่าอิทธิพลของปัจจัยระดับนักเรียน และปัจจัยระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญา ศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดพะเยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 1,400 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา แบบสอบถาม การเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล แบบสอบถามสัมพันธภาพภาพระหว่างบุคคล แบบสอบถาม การให้เหตุผลเชิงจริยธรรม แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแบบสอบถามบรรยากาศในชั้นเรียน ซึ่ง แบบสอบถามแต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .721, .867, .824, .718, .802, .915 และ .823 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows version 11.5 และโปรแกรม HLM version 6.02 Student edition for windows

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยระดับนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์มากที่สุด มีค่าเท่ากับ .579 รองลงมาได้แก่ การอบรม เลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ซึ่งมีค่าเท่ากับ .461 .271 ตามลำดับ ส่วนสัมพันธภาพภาพระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ .170

2. ปัจจัยระดับห้องเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและบรรยากาศในชั้นเรียน มีค่าเท่ากับ .272 และ .198 ตามลำดับ

3. ปัจจัยระดับนักเรียนที่ส่งผลทางบวกต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง และ การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ทั้งนี้ปัจจัยระดับนักเรียนร่วมกันพยากรณ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ได้ร้อยละ 34.36

4. ปัจจัยระดับห้องเรียนส่งผลทางบวกต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนบรรยากาศในชั้นเรียน ส่งผลทางบวกต่อคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยระดับห้องเรียนพยากรณ์คุณลักษณะที่ พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาได้ร้อยละ 59.80

 

An Analysis Multi-Factor Affecting of Mental Intelligence-Based Mattayomsueksa 3 Students’ Required Qualifications of the Office of Phayao Secondary Education Services Area 36

Two main purposes of their study were set out firstly, to explore the correlations of student factor level in relations to their self-awareness, reason-oriented family cultivation, personal interaction, and moral reasoning, as well as the correlations of classroom factor level related to their learner-centered learning management and its good learning atmospheres compared with their mental intelligence-based required qualifications. Secondly, to investigate the influences of both student and classroom factor levels affecting the mental intelligence-based required qualifications of Mattayomsueksa 3 students studying in the Office of Phayao Secondary Education Services Area 36. Through the multi-stage random sampleing technique, 1,400 Mattayomsuksa 3 students studying in the Office of Phayao Secondary Education Services Area 36, were selected on the subject of the study. Research instruments employed for this study included an aptitude test on student’s mental intelligence-based required qualifications and questionnaires on student’s self-awareness, reason-oriented family cultivation, personal interaction, moral reasoning, learner-centered system-based learning management, and classroom atmospheres, followed by its reliability of 0.721, 0.867, 0.824, 0.718, 0.802, 0.915, and 0.823 respectively. The data were statically analyzed through using the SPSS for Windows Programme (Version 11.5) and Student Edition for windows Programme (HLM version 6.02).

The findings of the study were as follows:

1. The positive correlations of student factors, with its significant difference of 0.01, affecting their mental intelligence-based required qualifications in relations to their self-awareness with its mean of 0.579 were mostly found, followed by their reason-oriented family cultivation with its mean of 0.461, and their moral reasoning with its mean of 0.271, meanwhile their personal interaction with its mean of 0.170 was rated at a lowest level.

2. The positive correlations of classroom factors, with its significant difference of 0.01, affecting their mental intelligence-based required qualifications were respectively rated at a lower level in terms of their learner-center system-based learning management with its mean of 0.272, followed by their classroom atmospheres with its mean of 0.198;

3. The positive correlations of student factors, with its significant difference of 0.01, affecting their mental intelligence-based required qualifications in relations to both their self-awareness and moral reasoning were rated at 34.36 %;

4. The positive correlations of classroom factors, with its significant difference of 0.01, affecting their mental intelligence-based required qualifications in relations to their learner-centered system-based learning management were rated at 59.80 %, meanwhile their classroom atmospheres affecting their mental intelligence- based required qualifications remained no significant difference of 0.01.

Article Details

บท
บทความวิจัย