การวิเคราะห์ปัจจัยจำแนกที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4

Main Article Content

ชฎาพร แก้วมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 และศึกษาปัจจัยจำแนกที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียน ขยายโอกาสสังกัด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน ขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 229 คน

โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรของ Yamane (1970 : 886) ที่มีความเชื่อมั่น 95% มีความคลาดเคลื่อน การสุ่มร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็นปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านครอบครัว รวม 63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูล พื้นฐานวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยใช้การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method)

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 9 ตัวแปร พบว่า ตัวแปรเกือบทุกตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับ .01 โดยค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมด มีค่าตั้งแต่ -0.256 ถึง 0.538 สามารถนำ ตัวแปรมาวิเคราะห์จำแนกเพื่อเข้าสู่สมการ สามารถนำไปใช้เป็นปัจจัยในการวิเคราะห์จำแนกความสำเร็จในการเรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 ไม่มีค่าเกิน สำหรับปัจจัยด้านอื่นๆ มีค่าสหสัมพันธ์เกิน .60 ซึ่งอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้

ปัจจัยที่สามารถจำแนกความสำเร็จทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน โรงเรียนขยายโอกาสสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต4มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ใน รายวิชาคณิตศาสตร์ บรรยากาศในห้องเรียนปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง และการอบรม เลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ สมการจำแนกกลุ่มที่ได้สามารถจำแนกกลุ่มของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ได้ถูกต้องถึงร้อยละ 76.9 โดยกลุ่มนักเรียน ที่สำเร็จทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ สมการสามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 77.8 และกลุ่มนักเรียนที่ไม่สำเร็จ ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ สมการสามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้อง ร้อยละ 75.9

2. สมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานสามารถแสดงได้ตามลำดับ ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y โดยรวม = -12.249 - 0.339 (x4) + 0.199 (x2) + 0.145 (x8) - 0.094 (x7) +0.081 (x9)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

Zy โดยรวม = -0.706 (x4) + 0.532 (x2) + 0.439 (x8) +0.432 (x7) - 0.356 (x9)

 

An Analysis of Discriminant Factors Affecting Mathematical Learning Achievements of Mattayomsueksa 1 Studying in Extension Education Schools of the Office of Chiangrai Education Services Area 4

The purpose of this study aimed to examine discriminant factors affecting the mathematical learning achievements of Mattayomsueksa 1 students studying in the extension education schools of the Office of Chiangrai Education Services Area 4. For data collection, a five-rating scale-based questionnaire in relations to their personal, environmental, and family factors, with its reliability of 95%, and its error of 5% , was conducted with 63 out of the 229 Mattayomsueksa 1 students studying in the extension education schools of the Office of Chiangrai Education Services Area 4. The data were statistically analyzed using the stepwise method. The findings of the study were as follows:

1. Discriminant factors in relations to its mathematical learning motivation, classroom atmospheres, interaction of teachers and students, student parents’ learning enhancement, as well as family care-taking were resulted in the mathematical learning achievements of Mattayomsueksa 1 students studying in extension education schools of the Office of Chiangrai Education Services Area 4. Of all the two groups with their mathematical learning achievements of 76.9 %, it was, according to the discriminant analysis of this study, stated that not only those with their mathematical learning achievements of 77.8 %, but also those with their no mathematical learning achievements of 75.9 % were mostly observed.

2. Discriminant equation found in both raw and standard scores was as follows:

Equation used in raw scores:

Y = -12.249 - 0.339 (x4) + 0.199 (x2) + 0.145 (x8) - 0.094 (x7) +0.081 (x9)

Equation used in standard scores:

Zy = -0.706 (x4) + 0.532 (x2) + 0.439 (x8) +0.432 (x7) - 0.356 (x9)

Article Details

บท
บทความวิจัย