ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

โยธิน ศิริเอ้ย
ประเวศ เวชชะ
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

Abstract

การวิจัยเชิงนโยบาย เรื่อง ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัด เชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน ดำเนินการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี เครื่องมือที่ ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า เก็บรวบรวมข้อมูล และดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง จำนวน 113 ฉบับ ประชากร ที่ใช้ คือ ครูโรงเรียนเทิงวิทยาคมจำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ความถี่ และค่าฐานนิยม และการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก กับหัวหน้างานฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค้นหาประเด็นหลัก 2) ศึกษา เหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ประเด็นการสนทนากลุ่มเป็น เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 11 คน วิเคราะห์เนื้อหาสำคัญถอดมาเป็นผัง ก้างปลา 3) ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียนในช่วงปีการศึกษา 2558 – 2560 ดำเนินการวิจัย เชิงคุณภาพ ประเด็นการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มประชากรเป็นคณะกรรมการ บริหารงานกิจการนักเรียน จำนวน 30 คนวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ พร้อมกับสรุปเป็นข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารงาน กิจการนักเรียน ผลจากการศึกษาพบว่า

1. สภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน 1) ด้านการวางแผน ภาพรวมความคิดเห็นมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ 2) ด้านการจัดองค์การ ภาพรวมความคิดเห็นมีคุณภาพอยู่ในระดับดี 3) ด้านการชี้นำ ภาพรวมความคิดเห็นมีคุณภาพอยู่ในระดับ พอใช้ 4) ด้านการการควบคุม ภาพรวมความคิดเห็นมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้

2. เหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการ พบว่า 1) ฝ่ายบริหารให้การสนับสนุน หรือเข้ามามีส่วนร่วมของ งานแต่ละงานไม่เท่ากัน 2) ด้านคนหรือบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละงานบางงานยังขาดประสบการณ์ มีความคิดเห็นที่แตก ต่างในการทำงาน 3) ด้านการเงินที่ได้ในการบริหารจัดการไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานกิจกรรมในแต่ละงาน ไม่ได้งบประมาณ ตามที่ได้นำเสนอตามโครงการ 4) ด้านวัสดุ/อุปกรณ์ที่มีอยู่ในสถานศึกษาไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม 5) ด้านการบริหารจัดการ ไม่มีการวางแผนให้เป็นรูปธรรม ชัดเจน ขาดการประเมินผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง 6) ด้านขวัญและกำลังใจของบุคลากรใน การปฏิบัติหน้าที่ในแต่งานละไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงาน ไม่มีแรงกระตุ้นให้การปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถ ของบุคลากรจากฝ่ายบริหารงาน 7) ด้านเวลาในการดำเนินงาน บางงานมีเวลาในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากการ วางแผนการใช้เวลาและสภาพภูมิอากาศไม่อำนวยต่อการดำเนินงาน 8) ด้านเครื่องมือมีไม่เพียงพอต่อการดำเนินอย่างทั่วถึงเมื่อ เทียบกับจำนวนของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

3. ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม ในปีการศึกษา 2558-2560 ควรดำเนินตามข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการบริหารจัดการโดยระบบคุณภาพแบบมีส่วนร่วม โดยพัฒนาการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ระบบควบคุม ติดตามและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ พัฒนา ระบบการทำงานแบบส่วนร่วม และ การกระจายอำนาจ ปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และสนับสนุนให้เกิดการ ประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ศิษย์เก่า หน่วยงาน องค์กรและชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยเสริมสร้างสวัสดิการและขวัญกำลังใจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากร พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นปรับปรุงระบบการคัดสรรบุคลากรเข้าทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และพัฒนา องค์กรและบรรยากาศที่จะส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐาน ข้อมูล โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลให้ตอบสนองต่อการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน

 

Strategic Proposal for Student Affairs Management of Thoeng Witthayakhom School, Chiang Rai Province

The policy research entitled” Strategic Proposal for Student Affairs Management of Thoeng Witthayakhom School, Chiang Rai Province” aimed at: 1) studying the conditions of the student affairs management. The research was carried out by using mixed-method approach. The research instrument was a Likert-scale questionnaire. The population of 113 teachers from Thoeng Witthayakhom School involved in responding to the questionnaire. The data was analyzed by using percentage, frequency, and mode. An in-depth interview was conducted with 11 heads of student affairs management section. Analysis of the interview data was to find out the key issues. 2) Examining causes and factors affecting the student affair management by using qualitative research method. A focus-group discussion was conducted with 11 key informants and then the data was analyzed and presented in fishbone diagram. 3) Investigating the strategic proposal for the student affairs management in the academic year 2015-2017. A focus group discussion was used as the instrument to collect the data with the population of 30 committee members of the student affairs management. The key contents were analyzed and summarized to formulate the strategic proposal for the student affairs management. The results of the study found that:

1. The conditions of the student affair management: 1) The overall opinion on the quality of planning was at the fair level. 2) The overall opinion on the quality of organizing was at the good level. 3) The overall opinion on the quality of leading was at the fair level. 4) The overall opinion on the quality of controlling was at the fair level.

2. Causes and factors affecting the management appeared that: 1) The support of the administrators in each job was not equal. 2) The personnel who were responsible in some jobs still lacked experience and had different idea in working. 3) The management budget was insufficient and was not approved as proposed in the project. 4) The materials/equipment of the school was insufficient. 5) The management lacked clear and concrete planning as well as comprehensive evaluation. 6) The personnel lacked the morale support. The administrators did not motivate the personnel to work at their maximum potential. 7) Time for implementation of some jobs was not enough because of the poor planning and inconvenient weather. 8) The instruments were insufficient with the number of students.

3. The strategic proposal for the student affair management of Thoeng Witthayakhom School in the academic year 2015-2017 was as follows: Strategy 1 was the management development by using participatory quality system to develop the plan/project/activity with effective controlling, monitoring, and evaluation system. This system should emphasize on participation and decentralization. Improve resources and budget allocation, encourage cooperation among parents, alumni, departments, organizations, and com munity in all aspects of school development. Strategy 2 was the personnel development by enhancing the personnel’s knowledge and working skills by improving the welfare and morale support. Promote and support the personnel in personal development for their higher potential. Improve the recruitment system for selection of the qualified staff and develop of the organization and environment to promote personnel’s career advancement. Strategy 3 was the development of information technology and database system to support the student affairs management.

Article Details

Section
Research Articles