การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

Gan Lu
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียน ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ก่อนกับหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และเพื่อศึกษาความพึง พอใจของนักศึกษาที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชาและแผนบริหารการสอน แบบฝึก ทักษะการเขียน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษา ชาวจีน สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 44 คน ซึ่งยังศึกษาอยู่ที่คณะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยยวี่ซี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแบบฝึกทักษะการเขียน ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการศึกษา พบว่า

การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทย เป็นภาษาที่สอง ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฉู่ฉง ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มใหญ่ โดยรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 90.48/82.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาจีน ที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยยวี่ซี ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรโดยรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.86/86.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ส่วนการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียน ก่อน กับหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่ง เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยยวี่ซี ก่อนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.16 คิดเป็นร้อยละ 64.51 และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 14.27 และหลังใช้แบบฝึกทักษะ การเขียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 60.62 คิดเป็นร้อยละ 86.61 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.37 มีคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 15.46 คิดเป็นร้อยละ 22.08 อีกทั้งผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนภาษาไทย เป็นภาษาที่สอง ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อใช้แบบฝึกทักษะแล้วในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจ มากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55

 

Construction of Learning Package Developing Writing Skills for Chinese Students Learning Thai as a Second Language, Chiang Rai Rajabhat University

The purposes of this study were: 1) to construct and investigate the efficiency of the learning package developing writing skills for the 1st year Chinese students learning Thai as a second language, Chiang Rai Rajabhat University, against the efficiency standard 80/80 criteria; 2) to compare learning acheivement of these students between pre and post implementation of the constructed learning package; and 3) to examine the students’ satisfaction towards the use of the constructed learning package. Research instruments were TQF3, course description, instructional plan, learning pacakge developing writing skills, achievement test, and satisfaction assessment form. Population was 44 Chinese students in Thai Language and Culture Program, Faculty of Humanities, Chiang Rai Rajabhat University in their 1st year, 2nd Semester of B.E. 2557 while they were studying at Yuxi Normal University, China. Data analysis involved efficiency assessment of the contructed learning package (E1/E2), mean (μ), and standard deviation (σ).

The efficiency assessment (E1/E2) of the implementation of the constructed learning package developing writing skills for 1st year Chinese students learning Thai as a second language at Chuxiong Normal University was 90.48/82.09 which was higher than the 80/80 standard criteria. For the 1st year Chinese students learning Thai and a second language at Yuxi Normal University, the efficiency results of the implementation of the constructed learning package was 91.86/86.61 which was also higher than the 80/80 standard criteria. Regarding the comparison of learning achievement, the mean score of the achievement was 45.16 accounting for 64.51% and standard deviation at 14.27 for the pre-implemenation; however, the mean score of the post implementation was 60.62 accounting for 86.61% and standard deviation at 8.37. Accordingly, the developmental value equated to 15.46 accounting for 22.08%. In addition, students’ satisfaction assessment results towards the use of the constructed learning package, in overall, showed that the students held their satisfaction mean score at the highest value at 4.55.

Article Details

บท
บทความวิจัย