การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเวียงพาน

Main Article Content

จักรพันธ์ ขันอุละ
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย เพื่อพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย ต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเวียงพานและเพื่อประเมินผลของการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเวียงพาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลพื้น ฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น นักเรียน 70 คน ผู้ปกครอง 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเวียง พาน จำนวน10 คนครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ในอำเภอแม่สายกลุ่มเครือข่ายการศึกษาแม่สาย-เวียงพางคำ จำนวน 10 คน รวมจำนวน 160 คน กลุ่มผู้ที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและประเมินของหลักสูตร ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารงานสถานศึกษา หัวหน้า งานวิชาการ ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รวมจำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ใช้ หลักสูตรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 45 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านเวียงพานเครื่องมือและวิธี การที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การสนทนากลุ่มแบบประเมิน คุณภาพของหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วย หลักสูตรท้องถิ่นวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละและผลการสนทนากลุ่ม

ผลการศึกษา พบว่า หลักสูตรท้องถิ่น เรื่องท้องถิ่นอำเภอแม่สาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านบ้านเวียงพาน มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน ในด้านการพัฒนา หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้และผลการเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียนเพราะสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และบริบทของโรงเรียน ในส่วนของโครงสร้างเวลา เนื้อหา มีความถูกต้องเหมาะสมและเนื้อหาเน้นทักษะ กระบวนการ ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ ศึกษาเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี ภาคภูมิใจและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ส่งผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจที่ดี เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเอง หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย มีความเหมาะสมมากที่สุด ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย อยู่ ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย มีความเหมาะสมระดับมากประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 80.61/84.38 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียน รู้โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่องท้องถิ่นอำเภอแม่สาย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึง พอใจต่อการเรียน ด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ท้องถิ่นอำเภอแม่สาย โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด

 

The Development of Local Curriculum titled “Mae Sai District Local, SocialScience, Religion, and Cultural Subjects, Mathayom Suksa 1, Ban Wiang Phan School”

This research aims to study students, parents and school committees on basic education and the teaching of Social Science, Religion and Cultural Subjects to develop a local curriculum titled “Mae Sai District Local”, to try out this local curriculum titled “Mae Sai District Local” for Mathayom Suksa 1, Ban Wiang Phan School and to evaluate the results of using the local curriculum titled “Mae Sai District Local, Social Science, Religion, and Cultural Subjects, Mathayom Suksa 1, Ban Wiang Phan School”. The samples used in this study consisted of the sample group who gave the basic information for developing this local curriculum: 70 students, 70 parents, 10 school committees on basic education and 10 teachers teaching Social Science, Religion, and Cultural Subjects, 10 schools were providing teaching junior high school (expand) in Mae Sai, the Educational Network Mae Sai Wiangphangkham group, totaling 160 people. 10 people in this group used to monitor and evaluate the quality of the courses were school administrators, deputy principal, head of education, supervisors and the teachers of Social Science, Religion, and Cultural Subjects and 45 people in the group that used the Mathayom Suksa 1 local curriculum, semester 2, 2013, Ban Wiang Phan School. Instruments and methods used in this study consisted of a questionnaire on the need to develop the local curriculum, group discussion and evaluation of the course, study plans, learning achievement test and satisfaction questionnaire regarding this curriculum. Data analyses were mean (\bar{X}), standard deviation (S.D.) and percentage and focus group results.

The results found that local the curriculum titled “Mae Sai district local, social science, religion, and cultural subjects, Mathayom Suksa 1, ban Wiang Phan School was consistent with the environment and expectations of the community in curriculum development, social learning and learning outcomes for students. This is because it is consistent with the education core curriculum, 2008 and the school context in the time structure, content was accurate and appropriate with process skills, skills in working with others and to be happy, authentic with measurements and assessment, encourage students to learn the local wisdom, tradition, culture and the pride and learning from the resources of the community. These were students that had great satisfaction, sustainable learning, students benefit from the learning activities and are accrue more knowledge for themselves. Local curriculum titled “Mae Sai District local was appropriate at the highest level, the study plan was appropriate at a high level, performance plan efficient at 80.61/84.38, achievements of the students having an average post test score of the local curriculum titled “Mae Sai District Local” were statistically significantly higher than pretest scores at 0.05 level and student satisfaction with the local

curriculum titled “Mae Sai District local” overall was at the highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย