การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมรายวิชาภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่นเพชรบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

จรรยา วัฒนศัพท์
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมรายวิชา ภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่นเพชรบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษา เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาภูมิปัญญา ชาวบ้านท้องถิ่นเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการครูผู้ สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเพชรพิทยาคม ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40 รวมจำนวน 114 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่นเพชรบูรณ์ แผนการ จัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาภูมิปัญญาชาวบ้าน ท้องถิ่นเพชรบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 82.79/81.42 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาภูมิปัญญาชาว บ้านท้องถิ่นเพชรบูรณ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรเห็นว่าเวลาในการ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมีความเหมาะสมกับโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เนื้อหามีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะ สมกับบริบทของสถานศึกษา

 

The Development of Additional Course Curriculum on Phetchabun Local Wisdom With Social Science, Religion, and Cultural Subjects

This research aimed to develop selective additional course curriculum and learning an effectiveness of the study plan, to compare the student’s achievements with the pre-test and post-test after using the additional course curriculum on Phetchabun local wisdom with social science, religion, and cultural subjects. Matthayomsuksa two student are used in the study whose attitudes towards the activity-based additional course curriculum on Phetchabun local wisdom with social science, religion, and cultural subjects are tested. The sample used in this study consists of the director of the school, vice president for academic affairs, teachers for social science, religion, and cultural subjects, the board of education, parents of Matthayomsuksa two students in Petch Pittayakon school and supervisors under the Phechabun Secondary Education Service Area Office 40, consisting of 114 people in total. The instruments used in this research were the curriculum with additional courses on Phetchabun local wisdom with social science, religion, and cultural subjects, a study plan, achievement tests, and the attitude towards the learning activity. Data was analyzed using mean (\inline \bar{X}), standard deviation (S) and percentage.

The research results were that the curriculum with additional Phetchabun local wisdom learning subjects, Social Science, Religion, and Cultural Strands of Matthayomsuksa two had the highest level. The study plans had an efficiency of 82.79/81.42, the post-test found higher achievement than the pre-test at the significance level of 0.05. The students’ attitude towards the additional course curriculum on Phetchabun local wisdom with social science, religion, and cultural subjects was overall high to the highest level. For those related with development of the curriculum, had time to teach the course with the appropriate basic education core curriculum in 2008. The content was appropriate and beneficial for its use in everyday life and fond to be appropriate to the context of education.

Article Details

บท
บทความวิจัย