การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนเพชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40

Main Article Content

อภิสา แก้วฤาชา
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชรพิทยาคม สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40

กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชรพิทยาคม จำนวน 9 ห้องเรียน จำนวน 374 คน กลุ่มผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู วิชาการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 374 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชร พิทยาคม จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเกาะกลุ่ม (Cluster Sampling) และ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูวิชาการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 1 คน ผู้ปกครอง นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 50 คน สำหรับครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชรพิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ใช้เวลา 20 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่า เฉลี่ยค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ประกอบด้วยชื่อหลักสูตร ความนำ หลักการ จุดหมายหลักสูตรสาระเพิ่มเติมสมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะพึงประสงค์ คุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ การจัดเวลาเรียน การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย ผลการเรียนรู้สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้โดยมีความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยภาพรวมมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุดยกเว้นด้าน กิจกรรมการ เรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากมีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 91.15/89.73 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80/80

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา พบว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม มีคะแนน ก่อนการเรียนค่าเฉลี่ย 16.14 คิดเป็นร้อยละ 53.80 และคะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ย 26.92 คิดเป็นร้อยละ 89.73 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แสดงถึงการพัฒนาของนักเรียนดีขึ้น ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง อาเซียนศึกษา พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยกับภาพรวมของหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในระดับมาก ในด้านเนื้อหา และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีความเห็นด้วยกับวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมการเรียนรู้วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ซักถาม แสดงความคิดเห็น ประชุม พูดคุยและรับฟังข้อคิดเห็นของ เพื่อนในระดับมากที่สุด

 

The Development of Additional Course Curriculum on ASEAN Studies, Social Science, Religion, and Cultural Subjects for Matthayomsuksa One Students In Phetpitayakom School under Phetchabun Secondary Education Service Area Office 40

This research aimed at the development of additional course curriculum on ASEAN studies, social science, religion, and cultural subjects, to study the student’s achievement with a post-test after using the additional course curriculum on ASEAN studies, and to study the opinion of students about the new curriculum. The research used Matthayomsuksa one students in Phetpitayakom School under Phetchabun Secondary Education Service Area Office 40.

The population used in this research consisted of Matthayomsuksa one students in Phetpitayakom school comprised 9 classrooms with 374 students. The ideas group about using the course curriculum consisted of 1 director of the school, 1 academic teacher, 15 Social Science, Religion, and Culture Subjects teacher and 374 parents of Matthayomsuksa one students. The sample group in this research was 50 Matthayomsuksa one students Phetpitayakom School selected by using cluster sampling and 1 director of the school, 1 academic teacher, 1 Social Science, Religion, and Culture Subjects teacher and 50 parents of Matthayomsuksa one students and for the teacher and the parents selected by using simple random sampling. The instruments used in this research was the additional course curriculum on ASEAN studies, social science, religion, and cultural subjects for Matthayomsuksa one students in Phetpitayakom School under Phetchabun Secondary Education Service Area Office 40 within 20 hours Achievement Test and Questionmair. Data was analyzed by mean, standard deviation, and percentage.

The results showed that the development of additional course curriculum on ASEAN studies, social science, religion, and cultural subjects for Matthayomsuksa one students in Phetpitayakom School under Phetchabun Secondary Education Service Area Office 40 consisted of the name of the course curriculum, principle, the course goal that was more significant performance, characteristics perceived, quality of the students at the end of Matthayomsuksa one, learning, study result, time management, learning management, learning media and measurement and evaluation of learning. The study plan consisted of the study result, main point, objective, study substance, study activity, study media and evaluation of learning. The study plan on the additional course curriculum was suitable at the most level. When considering each aspect the results found that main point, study result, evaluation of learning, objective and study substance were at the most level except learning activity and study media which were at the high level with effectiveness of 6 study plans. These have scores of learning of 91.15 and the post-test was at 89.73 with the effective score of E1/E2 at 91.15/89.73, this higher than the standard criteria at 80/80 percent.

The study results of the students after using the additional course curriculum on ASEAN studies found that the score of the students after using the additional course curriculum with the pre-test score was 16.14 with 53.80% and the post-test was 26.92 with 89.73 percent. The score of the post-test has a score higher than the pre-test with a statistical significance at the .05 level. This means that the development of the students was better. The results of the evaluation on the opinion of the students toward the additional course curriculum on ASEAN studies found that the students agreed with the overall additional course curriculum at a high level. In terms of contents and learning activities agreed that social science, religion, and cultural subjects were the study activities to ask a question, express one’s opinion, meet, discuss and listen to opinion of friends at the most level.

Article Details

บท
บทความวิจัย