แนวโน้มการพัฒนาด้านการเกษตรของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ บ้านห้วยลุหลวง ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ลาหู่ดำ จำนวน 2 คน เกษตรกรของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ในชุมชนที่เป็นผู้หญิง 10 คน ผู้ชาย 10 คน รวมกลุ่มเป้าหมาย ทั้งสิ้น 28 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกตามแนวคำถามที่สร้างขึ้น การเข้าไปในพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์ และ การจัดเวทีสนทนากลุ่มในการเก็บข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า จากการสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกษตรชาติพันธุ์ลาหู่ดำส่วนใหญ่มีอายุ 44 ปีขึ้นไป มี สถานภาพสมรส ไม่ได้เข้าเรียน มีอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เป็นกรรมการหรือสมาชิกองค์กร ได้รับข่าวสารทางโทรทัศน์ เสียงตามสายหมู่บ้านและวิทยุ ไม่มีความรู้ด้านภูมิปัญญาเกษตรของชาติพันธุ์ลาหู่ดำแต่มีความ ตระหนักรู้เห็นความสำคัญด้านภูมิปัญญาการเกษตรของชาติพันธุ์ลาหู่ดำ แนวโน้มการพัฒนาด้านการเกษตรกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ บ้านห้วยลุหลวง ในอดีตเป็นการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีพในครอบครัวโดยการทำไร่หมุนเวียนและทำนาบ้างเล็กน้อย มีการเลี้ยงสัตว์ไว้ บริโภคและขายเป็นรายได้เสริมบ้าง อาศัยองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการเกษตรของชาติพันธุ์ลาหู่ดำเป็นหลัก ต่อมามีการ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนอกจากจะใช้เลี้ยงชีพก็เริ่มแปรปรูปเพื่อการค้ามากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดผลกระทบ จากปัจจัยจากภายในได้แก่ ทัศนคติของคนในชุมชน พื้นที่การทำเกษตรที่มีพื้นที่จำกัดมากขึ้น สภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การเกษตรและโรคแมลงของพืชและสัตว์ทางการเกษตร และปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลอย่างมากได้แก่ นโยบายของรัฐบาลใน การจัดการพื้นที่ป่า นโยบายการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจการส่งออกเพื่อการค้า ความต้องการของตลาด สิทธิของชุมชนที่จะใช้ ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในถิ่นที่อยู่และการสนับสนุนของหน่วยงานรัฐที่ทางชุมชนเข้าไม่ถึง ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเกษตรบ้านห้วยลุหลวง จึงเห็นแนวทางในการพัฒนาการเกษตรของชาติพันธ์ลาหู่ดำ คือ ควรสร้างความเข้าใจต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันการปรับปรุงโครงสร้างดินในพื้นที่การเกษตร การจัดการ เรื่องเมล็ดพันธุ์ ระบบน้ำทางการเกษตร ส่วนการเลี้ยงสัตว์แนวทางการพัฒนามี 3 ด้าน คือ 1) พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2) อาหารสัตว์และ 3) การสุขาภิบาลในสัตว์เลี้ยงที่ทำให้เกิดการผลิตได้มากขึ้นและมีคุณภาพที่ดี ตลาดผลผลิต และแนวทางการ พัฒนาด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การรวมกลุ่มเกษตรกร การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ นโยบายต่าง ๆ รวมทั้งสิทธิการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ในถิ่นที่อยู่อาศัยของตนอย่างมีสวนร่วมเพื่อเป็นพื้นฐานทางการเกษตรตามวัฒนธรรม วิถี ชีวิตของชาติพันธุ์ลาหู่ดำแต่อย่างไรก็ดีเกษตรกรบ้านห้วยลุหลวงพยายามใช้ประสบการณ์ องค์ความรู้และทรัพยากรที่มีอยู่ พัฒนาการเกษตรของตนเอง
Development Trend of Agricultural of Black Lahu Ethnic Group at Huayluluang Community, Mae Yao Sub-district, Muang District ,Chiang Rai Province.
The objectives of the research was to study The Development Trend of Agricultural of Black Lahu Ethnic at Huayluluang Community Mae Yao Sub-district, Muang District ,Chiang Rai Province.The target groups of the research project were from three of NGOs that work with the community development, three of the leading political, ethnic Black Lahu, two of major agricultural ethnic black Lahu , ten of farmers ethnic Black Lahu women, ten of farmers ethnic Black Lahu man in the Huayluluan commumity farmers a total of 28 key informants.The in-depth interview was conducted to collect data and information based on the developed guideline together with observation and focus group discussion.
The findings of the study were as follows : Involved with agriculture, mostly key informants ages 44 years and over, married, unenrobled, Farmer, and average income was less than 90,000 baht per years and were members of some committees and local organizations and received news and information from Television exposure Village Voice and Radio, with limitation of Agriculture in the Black Lahu ethnic wisdom, though aware of the its importance.The development trend of Black Lahu Agricultural at Huayluluang Community was an agriculture for a living beginning by cultivation and domestic animals for some extra income with agricultural wisdom of the Black Lahu than an agriculture for trade. Those changes imparted in the internal factors including attitude of the community, limitation of farming areas and its abundance, pests. Those changes also were injluead by the external factors including government policies on forest management, export crops promotion market demand, rights of the community in natural resource management and aecessi bility of community on state services. All those mentioned factors were important for agriculture in Huayluluang community.Thus, the cultivation development of the ethnic Black Lahu should be an understanding of the climate changes, an improvement of soil quality for cultivation, seed and water management. For clonuslic animals, the strategies in inercasing products and its quality should be : 1) Species selection for area appropriation, 2) animal feed, and 3) Sanitation. For general agricultural development, the strategies should be marketing, product transformation, group engagement, State services, and state policies in land, water and forest management of habitats with participation of local people for fundamentals of cultured based agriculture, and lifestyle of Black lahu. At present, people in Huayluluang applied their enperiency knowledge, and resources tostrengthen their agriculture in their own way.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว