ผลกระทบการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า บ้านห้วยขี้เหล็ก ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อนุชา มอพ่า
กมลกาญจน์ อ่ำบัว
ศิวาพร วังสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า 2) เพื่อศึกษาผลกระทบ การย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า 3) เพื่อศึกษาแนวทางป้องกันการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ใช้วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และจัดเวทีสนทนากลุ่ม ในชุมชนบ้านห้วยขี้เหล็ก ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย นำผลการวิจัยมาวิเคราะห์หาแนวทางป้องกันการย้ายออกแรงงานในกลุ่มชาติพันธ์อาข่าบ้านห้วยขี้เหล็ก

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยผลักดัน ได้แก่ ภาระหนี้สินของ รายได้ไม่พอ กับรายจ่าย ความต้องการแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า 2) ปัจจัยดึงดูด ได้แก่ รายได้ปลายทางที่สูงกว่า อาชีพใหม่ สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการหารายได้มากกว่า และโอกาสทางสังคมที่ได้รับการบริการดีกว่า

2. ผลกระทบการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ระดับครอบครัว และชุมชน ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า สัดส่วนของ แรงงานอพยพที่สามารถช่วยเหลือครอบครัวต้นทางและชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีน้อยกว่า แรงงานอพยพที่ไม่สามารถช่วย เหลือครอบครัวและชุมชน

3. ผลกระทบการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ระดับครอบครัว และชุมชน ในด้านสังคม พบว่า ครอบครัว ต้นทางมีความวิตกกังวลเป็นห่วงแรงงานอพยพ เกิดภาวะความเครียดสูง

4. ผลกระทบการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ระดับครอบครัว และชุมชน ในด้านวัฒนธรรม พบว่า การย้าย แรงงานทำให้ขาดผู้สืบทอด ผู้รู้ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นต่อรุ่นได้

5. แนวทางป้องกันการย้ายออกแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า มี 2 ประการ คือ 1) ชุมชนบ้านห้วยขี้เหล็กต้องตระหนัก ทบทวนระบบการผลิตพืชผลทางเกษตรจากการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวตามฤดูกาล มาเป็นปลูกพืชเศรษฐกิจยืนต้นอย่างจริงจัง ควบคู่กับระบบการตลาด 2) ชุมชนบ้านห้วยขี้เหล็กควรตระหนักและสร้างทัศนคติที่ดี ต่อการศึกษาให้มากขึ้น เพื่อการเตรียมพร้อมการแข่งขันในภาคธุรกิจอนาคตอย่างจริงจัง

 

Effect of Akha tribe labor’s movement from Ban Huay Khee Lhek, Wawee Sub-District, MaeSuai District, Chiang Rai

This research has three main objectives as follows: 1) To study the factors of Akha tribe labor’s move. 2) To study the effect of Akha tribe labor’s emigration. 3) To study the prevention of Akha tribe labor’s emigration from Ban Huay Khee Lhek, Wawee Sub-District, Maesuai District, Chaingrai Province. The researcher collect information by using questionnaire, doing interview and organizing group discussion stage in Ban Huay Khee Lhek, Wawee Sub-District, Mae Suai District, Chiang Rai Province and analyzes the result to find out the prevention of the labor’s move.

The result shows that:

1. There are two factors of the labor’s emigration:1) Push Factor which is the imbalance of debt, income and expenses, high quality of life desire and 2) Pull Factor which are higher pay from the metropolitan area, new career, better earning environment and more possible chance to receive community service.

2. The effect on economy at the family and community level was found that there is less proportion of the labors that can support their family and community than those who can’t.

3. The effect on society was found that the labor’s families have much concern and stress on them

4. The effect on culture found that there is less number of local people who will inherit tradition and culture. Old generation with local wisdom can’t deliver knowledge to new generation

5. There are two ways for preventing the emigration those are 1) Community has to be aware of the problem and revise the concept of monoculture plantation to standing timber as well as marketing and 2) The community has to be aware of and build a good attitude towards education to prepare for the economic competition.

Article Details

บท
บทความวิจัย