การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนพื้นที่พิเศษกลุ่มห้วยชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

Main Article Content

ปุณยนุชนภัส อินทนุ
พูนชัย ยาวิราช
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียนของโรงเรียนพื้นที่พิเศษ กลุ่มห้วยชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของ โรงเรียนพื้นที่พิเศษกลุ่มห้วยชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า

1. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียนของโรงเรียนพื้นที่พิเศษกลุ่มห้วยชมพู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ด้านบุคคล โดยภาพรวม พบว่า มีสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน พบว่า มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ขั้นสรุปและรายงานผล (Action) ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นตรวจสอบ ทบทวน กำกับติดตาม (Check) และขั้นการดำเนินงาน (Do) ตามลำดับ ด้านสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยภาพรวมพบว่า มีสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน อยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน พบว่า มีขั้นตอนการปฏิบัติงานในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจาก มากไปน้อย ดังนี้ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นตรวจสอบ ทบทวน กำกับติดตาม (Check) ขั้นสรุปและรายงานผล (Action) และขั้นการ ดำเนินงาน (Do) ตามลำดับ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยภาพรวม พบว่า มีสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในและนอก โรงเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน พบว่า มีขั้นตอนการปฏิบัติงานในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดย เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นสรุปและรายงานผล (Action) ขั้นตรวจสอบ ทบทวน กำกับติดตาม (Check) และขั้นการดำเนินงาน (Do) ตามลำดับ ด้านกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ โดยภาพรวมพบว่า มีสภาพการ บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน พบว่า มีขั้นตอนการ ปฏิบัติงานในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ขั้นสรุปและรายงานผล (Action) ขั้นการดำเนินงาน (Do) ขั้นวางแผน (Plan) และขั้นตรวจสอบ ทบทวน กำกับติดตาม (Check) ตามลำดับ

2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนพื้นที่พิเศษกลุ่มห้วยชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 ดังนี้

2.1 มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล แหล่งการเรียนรู้ประเภทสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แหล่ง เรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ ทั้งภายในและภายนอก โรงเรียนลงในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน

2.2 มีการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทุกฝ่าย ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความตระหนักและเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ทำให้เกิดความร่วมมือในการสนับสนุน และช่วยเหลือในการจัดหา การใช้และการ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

2.3 กำหนดให้ครูผู้สอนมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและภายนอกโรงเรียน ลงในแผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชา และทุกระดับชั้น

2.4 มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดหา นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้ง ภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

2.5 ส่งเสริมบุคลากรไปศึกษา อบรม เพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับมาสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและ ภายนอกโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม

 

Management of School Learning Source in the Special Area of Huay Choompoo Group under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1

The purposes of this research were to study the conditions of school learning source management and to find the guideline for the school learning source development in the special area of Huay Choompoo group under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1. The data were analyzed by using frequency, percentile, mean and standard deviation. The data analysis found that revealed as follow :

1. The conditions of school learning source management in the special area of Huay

Choompoo group under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1 showed that the personnel resources management was in “average”. The operating system of this section were compared with Deming Cycle or PDCA working procedure and arranged in order form maximum to minimum showed that Acting procedure was most carried on followed by Planning, Checking and Doing. For the manmade resources management were in “good” level. The operating system of this section were compared with Deming Cycle or PDCA working procedure and arranged in order form maximum to minimum showed that Planning procedure was most carried on followed by Checking, Acting and Doing. For the natural resources management were in “good” level. The operating system of this section were compared with Deming Cycle or PDCA working procedure and arranged in order form maximum to minimum showed that Planning procedure was most carried on followed by Acting, Checking and Doing. For the social activities, traditions and believes resource were in “good” level. The operating system of this section were compared with Deming Cycle or PDCA working procedure and arranged in order form maximum to minimum showed that Acting procedure was most carried on followed by Planning, Checking and Doing.

2. The guidelines for the school learning source development were

2.1 Iidentifying the policies of school learning resources development in the school curriculum.

2.2 Using public relation system to enhance the comprehension, realization and Cooperation for those who responsible for school learning resources development

2.3 Assigning teachers responsible for designing lesson plan in accordance with using school learning resources in studying context.

2.4 Assigning teachers or committee responsible for planning, providing, checking and evaluating the usage and the development of school learning resources.

2.5 supporting teachers get more know ledge and experiences about school learning resources development towards training course.

Article Details

บท
บทความวิจัย