การศึกษาวิเคราะห์ถอดรหัสความสุข 4 ด้านของพระพุทธเจ้า

ผู้แต่ง

  • Wilaiporn Sucharitthammakul สุจริตธรรมกุล -
  • พงษ์ศิริ ยอดสา ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI

คำสำคัญ:

ถอดรหัส, ความสุข 4 ด้าน, พระพุทธเจ้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยทางด้านความสุขจากผลการวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ข้อสรุปว่า ความสุขมีองค์ประกอบจาก  4 ด้าน คือ ความสุขทางกาย ด้านการประกอบอาชีพ ความสุขด้านความสัมพันธ์ และความสุขทางจิตวิญญาณ   

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์ความสุขของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 ด้าน  โดยการวิจัยใช้การวิจัยทางเอกสาร  และการวิเคราะห์ตีความ  ซึ่งขอบเขตการวิจัยมุ่งเน้นพระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ นักบวช ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงความสุขในธรรมะภายในอันสูงสุดของพระองค์หรือในฐานะที่เป็นผู้สูงสุด 

          จากการวิจัยพบว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีความสุขที่สุดในทั้ง 4 ด้านด้วยตนเองและยังส่งผ่านแนวทางสร้างสุขให้กับสัตว์โลกที่มีความแตกต่างกัน  จากพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ โดยความสุขทั้ง 4 ด้านสามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ คือ 1) ความสุขทางกาย จากการดูแลร่างกายการขบฉันภัตตาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนและยารักษาโรคตามพุทธวิธี ซึ่งยืนยันได้จากการวิจัยในปัจจุบัน ที่ทำให้พระองค์แข็งแรงยังคงเดินทางไกลได้แม้จะใกล้ปรินิพพาน 2) ความสุขด้านการประกอบอาชีพ คุณค่าของอาชีพไม่ได้วัดที่ค่าจ้างแต่กลับวัดกันที่การสร้างประโยชน์ให้กับผู้คน ซึ่งพระพุทธองค์มีอาชีพที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อทั้งตนเองและสัตว์โลก คือ เป็นครูหรือแพทย์ผู้สอนวิชาการหลุดพ้นของชีวิต  ช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ทั้งในปัจจุบันชาติและในวัฏสงสาร 3) ความสุขด้านความสัมพันธ์ พระพุทธองค์สามารถรับมือได้กับทุกความสัมพันธ์กับทิศ 6 รอบตัวซึ่งรวมไปถึงศัตรูของพระองค์ ด้วยความเมตตาและเห็นคุณค่าของทุกชีวิตที่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้กฏแห่งกรรมที่เท่าเทียมกัน  และ 4) ความสุขทางจิตวิญญาณ คือ ความสุขสูงสุดของพระองค์และสัตว์โลกที่มีสติรู้เท่าทันความคิดเพื่อระงับโรคทางใจ และใช้สติฝึกต่อไปให้เป็นสมาธิในระดับที่สูงขึ้นไปบรรลุธรรมเพื่อกำจัดโรคทางใจ คือ อุปกิเลสต่อไปให้หมดสิ้น ซึ่งทุกคนสามารถมีความสุขเฉกเช่นพระองค์ได้  ด้วยการประกอบเหตุอย่างที่พระองค์ปฏิบัติ

References

ชิอน คาบาซาวะ, นิพดา เขียวอุไร (แปล). (2565). สู่จุดสูงสุดของชีวิตด้วย “พีระมิดความสุข”. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

นวลนภา ยุคันตพรพงษ์ และพระมหาอดิเดช สติวโร. (2565). การทานอาหารมื้อเดียวที่ปรากฏในกกจูปมสูตร, วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(2), 211-221.

นาวิน วรรณเวช. (2558). ยิ่งหิว ยิ่งสุขภาพดี?. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 197-205.

ณภัทร เพชรวีรชูวงศ์. (2559). โรคทางจิต… โรคทางใจ. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565, จากhttps://zeekdoc.com/post/โรงทางจิต...-โรคทางใจ-540.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล และวรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. (2563). การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 14(2), 69-85.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2555). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระมหาอดิเรก สติวโร. (2560). น้ำปัสสาวะบำบัดโรคกับน้ำมูตรเน่า : ความเหมือนและความแตกต่าง. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(2), 10-22.

สมบัติ อ่อนศิริ. (2559). ผลของการเดินโดยกำหนดเป้าหมายที่มีต่อน้ำหนักตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน และสมรรถภาพทางกายของนิสิตหญิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 45-53.

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2564). การนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 36(2), 18-31

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555) คู่มือการวัดความสุขด้วยตัวเอง (HAPPINOMETER; The Happiness Self Assessment). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2561). แนวคิดคู่ตรงข้ามในยมกวรรคแห่งอรรถกถาธรรมบท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 597.

Carolyn Crist. (2021). Short Walks After Meals Can Cut Diabetes, Heart Risks: Study. Retrieved September 8, 2021, https://www.webmd.com/diabetes/news/20220809/short-walks-after-meals-cut-diabetes-heart-risk-study.

Meik Wiking. (2017). The Key to Happiness: How to Find Purpose by Unlocking the Secrets of the World's Happiest People. United Kingdom: Penguin Random house.

Rocco Farano. (2021). Writing for Wellness: Eight Dimensions, Eight experiences. Retrieved May 26, 2021, https://www.prainc.com/ww-2021-8dimensions-8experiences/.

The Norwegian University of Science and Technology (NTNU). (2010). Brain waves and meditation. Retrieved September 8, 2021, https://www.sciencedaily.com/releases/2010/03/100319210631.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30