บทความย้อนหลัง

  • วารสารเอเชียตะวันออกเเละอาเซียนศึกษา
    ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (2021)

    วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่งจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในการส่งเสริมการตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัย และสำหรับวารสารฉบับ กรกฎาคม – ธันวาคม 2564 นี้ ก็ยังได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างยิ่งเช่นกันจาก ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ อาจารย์อาวุโส ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กรุณาให้เกียรติส่งบทความเรื่อง “หลักการความรับผิดชอบในการปกป้อง (R2P) กับวิกฤติการณ์การเมืองในเมียนมาร์” มาร่วมตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ ซึ่งสอดคล้องเป็นอย่างดีกับอรรถบท (theme) ของวารสารฉบับนี้ที่ว่าด้วยประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security) ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ มากมายที่สามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและของมนุษย์ได้โดยที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องการทหารเท่านั้น โดยในวารสารฉบับนี้จะมีบทความที่เกี่ยวกับการปราบปรามการค้ามนุษย์ สังคมผู้สูงวัย การฆ่าตัวตายของคนจากวิกฤติ COVID-19 ความมั่นคงทางอาหาร และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจประเด็นความมั่นคงใหม่นี้ได้อย่างครอบคลุม

  • วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา
    ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (2022)

    วารสารเอเชียตะวันออกเเละอาเซียนศึกษาได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างมากจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำเเหง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวารสารวิชาการ โดยในฉบับที่ 2 ของปี 2022 นี้ มีการเปลี่ยนเเปลงสำคัญอยู่สองประการ ประการเเรก คือมีการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างของศูนย์การเมือง สังคม เเละวัฒนธรรม ซึ่งดูเเลวารสารฉบับนี้อยู่ เเละการเปลี่ยนเเปลงระบบผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ จากเดิมคือบทความละสองคน เปลี่ยนเป็นบทความละสามคน เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เปลี่ยนเเปลงไป ด้วยเหตุนี้ จึงอาจมีเหตุขัดข้อง เเละความยากลำบากอยู่หลายประการ กว่าที่จะสามารถทำให้วารสารฉบับนี้ตีพิมพ์ออกมาได้


    วารสารฉบับนี้มีบทความวิจัยเเละบทความวิชาการดีพิมพ์ที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความอยู่ 5 บทความ ซึ่งมีความหลากหลาย ตั้งเเต่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเมืองรัสเซียกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน จีนอพยพใหม่ในภาพอีสานของไทย เรื่องทางปรัชญา/ศาสนา อย่างเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ถอดรหัสความสุข 4 ด้านของพระพุทธเจ้า ไปจนถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ เช่น เเนวทางการจัดตั้งองค์กรเพื่อให้ความช่วยเหลือเเรงงานข้ามชาติ เเละบทบาทของกองทุนการออมเเห่งชาติ

  • วารสารเอเชียตะวันออกเเละอาเซียนศึกษา
    ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (2023)

    วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษาได้รับความอนุเคราะห์เป็น
    อย่างยิ่งจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของ
    งานวารสารวิชาการ รวมไปถึงการช่วยผลักดันให้วารสารยังคงได้รับการสนับสนุน
    จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อไป ในนามของกองบรรณาธิการวารสารเอเชียตะวัน
    ออกและอาเซียนศึกษาจึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
    บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ได้รับการประเมินโดยผู้ทรง
    คุณวุฒิด้วยระบบ double-blinded review จำนวนบทความละ 3 ท่าน โดยกอง
    บรรณาธิการได้ทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
    และกองบรรณาธิการก็ถือเอามติของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเป็นที่ตั้ง คือ
    มีบทความที่ส่งมาแล้วผ่านการประเมินเท่าใดก็ตีพิมพ์จำนวนเท่านั้น จึงทำให้วารสาร
    ฉบับนี้มีบทความทั้งหมด 7 บทความ ซึ่งครอบคลุมประเด็นที่หลากหลาย ไม่ว่า
    จะเป็นนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา การเมืองเเละการต่างประเทศของจีน
    อาเซียนศึกษา วัฒนธรรมอิสานใหม่ เเละการประยุกต์ทฤษฎีเกม

  • วารสารเอเชียตะวันออกเเละอาเซียนศึกษา
    ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (2021)

    วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่งจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในการส่งเสริมการตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัย โดยส่วนแรกของวารสารฉบับ มกราคม มิถุนายน ปี พ.ศ. 2564 นี้จะเริ่มเปิดประเด็นจากบทความวิชาการที่ศึกษาระดับรัฐ บทความแรกจะเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาระรับผิดชอบของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา โดยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยเชิงทัศนคติ เช่น ค่านิยมและวัฒนธรรมนั้น ส่งผลต่อความสำเร็จของนโยบายไม่น้อยไปกว่าการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น โครงสร้างทางสถาบันและกฎหมาย บทความที่สองจะมองรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยศึกษากรณีนโยบาย ‘3 ไม่’ ของเวียดนาม โดยชี้ให้เห็นว่า นโยบายดังกล่าวทำให้เวียดนามยังรักษาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีกับจีนไว้ได้ พร้อม ๆ กับอนุญาตให้เวียดนามสามารถเข้าสหรัฐฯ มากขึ้น และยังเป็นนโยบายที่เวียดนามใช้เพื่อป้องกันตนเองจากแรงกดดันและแสวงหาผลประโยชน์จากความสัมพันธ์กับสองมหาอำนาจ จากนั้นก็จะเข้าสู่บทความวิจัยที่เป็นการประเมินบทบาทของรัฐในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การของศูนย์ซ่อมอากาศยาน กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ และแนวทางการใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคของรัฐไทย และส่วนสุดท้ายจะเป็นบทความกลุ่มอาณาบริเวณศึกษาอันได้แก่การศึกษาการจับกลุ่มทางประชากรที่ว่าด้วยความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อคุณภาพของยาใหม่ในประเทศจีน และคุณภาพการบริการการศึกษาระดับหลังบัณฑิตและความพึงพอใจของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยการเกษตรปาอี เฮยหลงเจียง ประเทศจีน

    ทั้งนี้ ในฉบับต่อ ๆ ไป ทางกองบรรณาธิการจะพยายามเพิ่มความหลากหลายของประเภทบทความตีพิมพ์ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบทความปริทัศน์ (Review Article) บทวิเคราะห์และแนะนำหนังสือ (Book Review) เข้ามาด้วย โดยบรรณาธิการเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าความหลากหลายดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่ดีต่อนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ในการต่อยอดงานวิจัยหรืองานทางวิชาการต่าง ๆ ต่อไป

  • วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา
    ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (2022)

    วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่งจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในการสนับสนุนให้เป็นพื้นที่สำหรับการตีพิมพ์บทความวิชาการ และบทความวิจัย สำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา มาแล้วกว่า 20 ปี และในวารสารฉบับ มกราคม – มิถุนายน 2565 นี้ จะเป็นฉบับที่นำพาให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจต่อประเด็นทางสังคมการเมืองทั้งในไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการต่อสู้ หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งความน่าสนใจคือรูปแบบในการนำเสนอที่มีทั้งการพยายามอธิบายผ่านตัวบทวรรณกรรม และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในสังคม นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากร ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะชวนให้ขบคิดเกี่ยวกับปัญหาของการขาดแคลนกำลังคนในตลาดแรงงาน และการบริหารจัดการพัฒนาทางการเมืองที่จะเปิดมุมมองและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบนั้นควรจะดำเนินการอย่างไร

                ท้ายที่สุดนี้ ขอขอบคุณคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนทางวิชาการ ผ่านการทำงานในกองวารสารแห่งนี้มาตลอดระยะเวลา 11 ปี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าต่อไปในอนาคตวารสารฉบับนี้จะเป็นที่สนใจของทั้งท่านผู้อ่าน และผู้ที่ต้องการจะใช้พื้นที่นี้เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมสืบไป  

  • วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา
    ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (2023)

    วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษาได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างยิ่งจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวารสารวิชาการ รวมไปถึงการช่วยผลักดันให้วารสารยังคงได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อไป ในนามของกองบรรณาธิการวารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษาจึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

              บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบ double-blinded review จำนวนบทความละ 3 ท่าน โดยกองบรรณาธิการได้ทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ และกองบรรณาธิการก็ถือเอามติของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเป็นที่ตั้ง คือ มีบทความที่ส่งมาแล้วผ่านการประเมินเท่าใดก็ตีพิมพ์จำนวนเท่านั้น จึงทำให้วารสารฉบับนี้มีบทความทั้งหมด 7 บทความ ซึ่งครอบคลุมประเด็นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิทธิพลของจีนในลุ่มแม่น้ำโขง สถาบันขงจื่อในฐานะอำนาจละมุนของจีน โครงการคนละครึ่งกับการแก้วิกฤติเศรษฐกิจของไทย ประวัติ ที่มา และความสำคัญของคัมภีร์เกาเซิงจ้วนยุคเหลียง ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ปัญหารัซเซีย-ยูเครน และการเติบโตของอุตสาหกรรมแปลงเพศในประเทศไทย ทั้งนี้ หากผู้อ่านมีข้อข้องใจใด ๆ สามารถสอบถามมาได้ทางอีเมล [email protected] ข้าพเจ้าในฐานะบรรณาธิการวารสารพร้อมที่จะให้คำตอบ