ชาวจีนอพยพใหม่ในภาคอีสาน: สถานการณ์ แรงจูงใจ และการประกอบอาชีพ

ผู้แต่ง

  • กุลนรี นุกิจรังสรรค์ -

คำสำคัญ:

ชาวจีนอพยพใหม่, ชาวจีนโพ้นทะเล, ความสัมพันธ์ไทย-จีน, การย้ายถิ่น

บทคัดย่อ

ชาวจีนอพยพใหม่หมายถึงชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพออกนอกประเทศหลังจีนปฏิรูปและเปิดประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1978 โดยมีการตั้งถิ่นฐานในประเทศปลายทางอย่างถาวรหรือกึ่งถาวร ชาวจีนกลุ่มนี้อพยพออกมาเพื่อแสวงหาโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ในไทยมีชาวจีนอพยพใหม่เข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวนมากกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่ชาวจีนอพยพใหม่ในภาคอีสานส่วนมากอพยพเข้ามาด้วยปัจจัยโอกาสทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมวัฒนธรรมของภาคอีสานและความสัมพันธ์ไทย-จีนเป็นหลัก ซึ่งบทบาทและการเคลื่อนไหวของชาวจีนกลุ่มนี้มีผลกระทบต่อไทยในระยะยาว การศึกษาเรื่องชาวจีนอพยพใหม่จึงมีความสำคัญ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ แรงจูงใจในการอพยพ และการประกอบอาชีพของชาวจีนอพยพใหม่ในภาคอีสาน

References

นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร .(2546). คนจีนกับการขยายตัวของเมืองบริเวณลุ่มน้ำชี (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ยศ สันตสมบัติ และคณะ. (2555). มังกรหลากสี การขยายดินแดนกับพันธกิจการสร้างอารยธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย.

ยศ สันตสมบัติ และคณะ. (2557). ทุนนิยมจีน ประชาคมอาเซียน และชาวจีนโพ้นทะเลในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย.

สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2555). คลื่นลูกที่สี่: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการย้ายถิ่นของชาวจีนยุคใหม่. บทความนำเสนอในการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4.

อภิราดี จันทร์แสง และคณะ. (2553). การศึกษาการเคลื่อนย้ายของชาวจีนในเขตชยแดนลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดชายแดนประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย.

อุษามาศ เสียมภักดี.(2562). “หน่วยที่ 3 การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ: พัฒนาการและแนวคิด”. ใน วรารักษ์ เฉลิมพันธุ์ศักดิ์ บรรณาธิการ. เอกสารการสอนชุดวิชา ความคิดทางการเมืองและสังคม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Chen Jianrong. (2008). Group Characteristics of New Migrants in Bangkok: A case Study of Chinese New Migrants in Thailand. Southeast Asian Studies, Vol.4, 71.

Hong Liu. (1998) . ‘Old Linkages, New Networks: The Globalization of Overseas Chinese Voluntary Associations and Its Implications’, China Quarterly, no. 155 (September 1998): 582.

Hong Liu และ Els van Dongen. (2016). ‘China’s Diaspora Policies as a New Mode of Transnational Governance’, Journal of Contemporary China, Vol. 25, No. 102, pp. 805–821.

Lee, E. (1966). A Theory of Migration. Demography, 3(1), 47-57. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/2060063

Ma Tao. (2015). New Generation of Overseas Chinese: The Case Study of Chinese Immigrant in Thailand. Kasalongkham Journal Vol.9, No.02, July-December.

Wang Gungwu . (1993). ‘Greater China and the Chinese Overseas’, The China Quarterly, 136(30), (December 1993) pp. 926-948.

Zhang Xiuming. (2001). The Mainland Chinese Migrants in the Context of International Immigration: in Reference to the Issue of New Migrants. Overseas Chinese History Study, 23.

Zhuang Guotu และ Wang Wenbo. (2010). Migration and Trade: The Role of Overseas Chinese in Economic Relations between China and Southeast Asia. International Journal of Chinese StudiesVol.1, No.1, January, 174-193.

庄国土.(2009).东南亚华侨华人数量的新估算. 厦门大学学报(哲学社会科学版)(03),62-69.

庄国土.(2008).论中国人移民东南亚的四次大潮. 南洋问题研究(01),69-81.

庄国土.(2009).回顾与展望:中国大陆华侨华人研究述评. 世界民族(01),51-59.

庄国土 & 张晶盈.(2012).中国新移民的类型和分布. 社会科学(12),4-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30