กองทุนการออมแห่งชาติ : บทบาทการลดความเหลื่อมล้ำระบบบำนาญในประเทศไทย

กองทุนการออมแห่งชาติ : บทบาทการลดความเหลื่อมล้ำระบบบำนาญในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • JUTHARATH YOKTAWORN Chulalongkorn

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เสนอบทวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามว่าการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติมีความสามารถในการลดความเหลื่อมล้ำของระบบบำนาญในประเทศไทยได้อย่างไร รวมไปถึงมีความสามารถในการเป็นหลักประกันสำหรับการดำรงชีพหลังเกษียณที่เพียงพอสำหรับแรงงานนอกระบบได้หรือไม่ โดยผู้เขียนใช้วิธีการศึกษาจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าเดิมระบบบำนาญในประเทศไทยยังขาดความครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมในการดูแลจากภาครัฐ การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติจึงเป็นนโยบายที่เข้ามาอุดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของระบบบำนาญให้เกิดความเสมอภาคในการดูแลจากภาครัฐ นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มแรงงานนอกระบบตื่นตัวในเรื่องการวางแผนสำหรับการเกษียณมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสมาชิกของกองทุนจะได้รับข้อมูลในการส่งเสริมวินัยการออมอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพิจารณาถึงความเพียงพอสำหรับเป็นหลักประกันสำหรับการดำรงชีพหลังเกษียณพบว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับยังต่ำกว่าเส้นความยากจนในปัจจุบัน กล่าวคือแม้ว่าจะมีการเริ่มออมตั้งแต่ช่วงทำงานยังคงมีโอกาสที่จะตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงต่อความยากจนหลังเกษียณ นอกจากนี้ยังพบความซ้ำซ้อนกับประกันสังคมาตรา 40 ที่อาจเป็นผลมาจากประเด็นทางการเมือง ทำให้แรงงานนอกระบบต้องเสียประโยชน์จากความล่าช้าในการประกาศใช้นโยบาย ดังนั้นผู้เขียนมีความเห็นว่ารัฐบาลควรจัดรูปแบบการออมสำหรับแรงงานนอกระบบให้เป็นระบบเดียวเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ซึ่งการจัดระบบเดียวจะลดค่าใช้จ่ายการบริหาร นอกจากนี้การออกแบบสวัสดิการสำหรับแรงงานนอกระบบควรคำนึงถึงความเพียงพอในการใช้หลังจากเกษียณอายุเพื่อสามารถเป็นหลักประกันหลังเกษียณได้อย่างแท้จริง

References

Branson, H. William. (1989). Macroeconomic Theory and Policy 3rd Edition

กองทุนการออมแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 เข้าถึงโดย https://www.nsf.or.th/sites/default/files/รายงานกอช%20ประจำปี%202563.pdf

ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2558). การปฏิรูประบบบำนาญกับความยั่งยืนทางการคลัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565, เข้าถึงโดย https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/SymposiumDocument/symposium2015_paper5.pdf

พรอนงค์ บุษราตระกูล, ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ, อนิรุต พิเสฎฐศลาศัย, รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น, รัฐชัย ศีลาเจริญ, ธนวิต แซ่ซือ. (2564). ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ: การจัดทำและการประยุกต์ใช้เชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565 เข้าถึงโดย https://www.sec.or.th/TH/Documents/Seminars/SECSymposium2021-04F.pdf

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ม.ป.ป. (ออนไลน์) เรื่องสังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 เข้าถึงโดย https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2549). สถานการณ์ผู้สูงอายุในปี 2549. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565เข้าถึงโดย http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20160106142611_1.pdf

วิภาวี เหมพรวิสาร และ พุฒิกุล อัครชลานนท์. (2557). การสร้างความมั่นคงหลังเกษียณให้คนไทย กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2562 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565 เข้าถึงโดย https://www.thaihealth.or.th/Content/47950-เตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยคุณภาพ.html

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2559). กองทุนการออมแห่งชาติ ...หลักประกันยามเกษียณของ แรงงานนอกระบบ.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565 เข้าถึงโดย https://www.hiso.or.th/hiso5/report/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565 เข้าถึงโดย https://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/labour/informalEmployment/2021/PocketBook2021.pdf

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์,กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์,ภูมิใจ ตั้งสวัสดิรัตน์และอัจจนา ล่ำซำ. (2560). มุมมองใหม่หนี้ครัวเรือนไทยผ่าน Big Data ของเครดิตบูโร. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565 เข้าถึงโดย https://www.pier.or.th/abridged/2017/10/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30