พฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบันเทิงของนักศึกษาในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมืองนครพนม

ผู้แต่ง

  • บุญธรรม ข่าขันมะณี - 0000-0002-2175-1343
  • ธิดารัตน์ สุขจิต
  • ชนาธิป เกดา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมกรรม, การเลือกใช้บริการ, สถานบันเทิง, จังหวัดนครพนม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถานบันเทิง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบันเทิงของผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อแรงจูงใจการใช้บริการสถานบันเทิง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเพื่ออธิบายปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงต่อแรงจูงใจในการเข้าใช้บริการสถานบันเทิงของนักศึกษาในจังหวัดนครพนม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านพฤติกรรมพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการ 4-5 ครั้ง/เดือน (ร้อยละ 42, ค่าเฉลี่ย=4.16) เข้าใช้บริการในวันศุกร์-อาทิตย์ (ร้อยละ 80) มีผู้ร่วมไป 4-5 คน (ร้อยละ 49.5, ค่าเฉลี่ย=4.02) ระยะทางจากที่พัก 4-6 กม. (ร้อยละ 32.5, ค่าเฉลี่ย=4.95) เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 77.8) แต่งกายสไตล์แฟชั่นสายฝอ (ร้อยละ 28.5) โดยมีผู้ร่วมใช้บริการเป็นเพื่อนในมหาวิทยาลัย (ร้อยละ 75.8) ด้านแรงจูงใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ แรงจูงใจด้าน Promotion (ค่าเฉลี่ย=4.15) ด้านเพลง/ดนตรี (ค่าเฉลี่ย=4.07) ด้านบรรยากาศ (ค่าเฉลี่ย=4.03) ด้านศิลปิน (ค่าเฉลี่ย=3.92) ด้านอาหาร (ค่าเฉลี่ย=3.88) และด้านวัตถุประสงค์ (ค่าเฉลี่ย=3.85) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้บริการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.91) โดยพึงพอใจด้านเครื่องดื่ม (ค่าเฉลี่ย=4.24) พนักงาน (ค่าเฉลี่ย=4.02) และอาหาร (ค่าเฉลี่ย=3.48) สรุปได้ว่า แรงจูงใจหลักที่สำคัญในการใช้บริการสถานบันเทิง คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด เพลง/ดนตรี บรรยากาศ

References

จุฑาทิพย์ พรมวงศ์, อโณทัย งามวิชัยกิจ, และยุทธนา ธรรมเจริญ. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาของนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 76-86.

ธนกร สังข์ทิพย์. (2559). พฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงของวัยรุ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(23), 49-58.

ฝ่ายงานทะเบียนมหาวิทยาลัยนครพนม. (2565). ข้อมูลเรื่อง จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2565. สืบค้น 3 มกราคม 2567 จาก https://www.npu.ac.th/?page=annual_report

พิชญ์สินี คำแก้ว. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความพึงพอใจในการใช้บริการสถานบันเทิงของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก, 10(1), 67-79.

ภัทรา เชื้อเมืองพาน. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

วรวรธน์ วิมลอุดมสิทธิ์. (2563). ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงย่านเอกมัยของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 201-214.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุภร เสรีรัตน์. (2560). แรงจูงใจในการตัดสินใจใช้บริการสถานบันเทิงของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 5(1), 91-108.

ศุภลักษณ์ ปรีชาวุฒิเวชช์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิง: กรณีศึกษาผู้ใช้บริการในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 5(2), 69-80.

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2. ( 2566). ข้อมูลเรื่อง จำนวนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนม ปีการศึกษา 2566. สืบค้น 3 มกราคม 2567 จาก https://www.ivene2.ac.th/

สุพจน์ ทองสีนวล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(6), 67-79.

สุภาพร พลายพินิจ. (2563). อิทธิพลของบุคลิกภาพศิลปินที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 6(2), 32-44.

สุรเชษฐ์ สุขสวัสดิ์. (2565). แฟชั่นสตรีทและวัฒนธรรมฮิปฮอปในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แฟชั่นไทย.

วิภาดา สุขใจ. (2566). ภาษาวัยรุ่นไทยในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาศาสตร์ร่วมสมัย.

อรัญญา กุศลธรรม. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 7(2), 47-58.

อาทิตย์ สว่างจิตร. (2562). อิทธิพลของปัจจัยด้านการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 42(161), 89-103.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Prentice-Hall.

Atkinson, J. W. (1964). An introduction to motivation. Van Nostrand.

Bettman, J. R., Luce, M. F., & Payne, J. W. (1998). Constructive consumer choice processes. Journal of Consumer Research, 25(3), 187-217. https://doi.org/10.1086/209535

Davenport, J., & Russell, S. (2018). Entertainment venues: Contested spaces of urban consumption. In P. Hubbard (Ed.), Urban studies student handbook (pp. 73-90). SAGE.

Jones, J. L., Phillipson, C., & Tao, N. (2021). Who goes to entertainment venues? A socio-demographic profile of patrons of arts, entertainment and recreation venues based on passive mobile positioning data. Journal of Cultural Economics, 45(4), 511-540. https://doi.org/10.1007/s10824-021-09411-7

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing (17th ed.). Pearson.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lee, J. H., Ra, S., Bahl, S., Mallapragada, G., & Liu, J. (2018). Understanding urban nightlife consumption motivations from social media. Information Systems Frontiers, 20(4), 767-783. https://doi.org/10.1007/s10796-017-9789-2

Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396. https://doi.org/10.1037/h0054346

Rieple, A., Gander, J., & Frow, P. (2021). Understanding the motivations, hedonic drivers and consumer experience of nightclub attendees: A means-end analysis. Tourism Management, 82, 104196. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2020.104196

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27