ทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา ครุฑสุวรรณ -

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ความพึงพอใจ, ภาษี, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บทบาทหน้าที่เทศบาลในการพัฒนาท้องถิ่นกับทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  จาก 400 กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ประชากรตำบลสวนหลวง มีทัศนคติต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ / ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และด้านสภาพแวดล้อม ลำดับสุดท้ายคือ ด้านสถานที่การให้บริการ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง แตกต่างกัน ด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่เทศบาลในการพัฒนาท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

References

กลัยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ บุญชาโด, อุดม พิริยสิงห์, และสมเกียรติ เกียรติเจริญ(2559) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลคูเมือง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

ชณชนก หลักบึง. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาชาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลยับูรพา.

นภาพร จุดาบุตร. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบล โพธิ์ทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

มณี จิตรมาศฐาน. (2551). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานท้องถิ่น,วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา).

มนัสนันท์ ตันเกียรติ. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการ ด้านการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (2563). ความพึงพอใจในการใช้บริการของเทศบาลเมืองพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประจำปี งบประมาณ 2563 งานวิจัย

วัชราภรณ์ รัตติโชติ. (2556). การบริหารงานคลังของเทศบาลในจังหวัดพิจิตร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา จุณณะปิยะ. (2551). คู่มือการวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานเทศบาลตำบลสวนหลวง. คู่มือการชำระภาษีท้องถิ่น สำนักงานเทศบาลตำบลสวนหลวง

www.suanluang.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27