บทบาทของกลุ่มทุนโทรคมนาคมกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531–2566

ผู้แต่ง

  • อิทธิพล โชตินิสากรณ์ -

คำสำคัญ:

กลุ่มทุนโทรคมนาคม, กลุ่มผลประโยชน์, ทุนผูกขาด, กำหนดนโยบาย, บทบาท

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “บทบาทของกลุ่มทุนโทรคมนาคมกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2531-2566” ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (key-informants) ผลการวิจัย พบว่า (1) พัฒนาการทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจทุนโทรคมนาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2566 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1.1) กลุ่มโทรศัพท์พื้นฐาน  ภาพรวมพัฒนาการมีจำนวนการใช้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป (1.2) กลุ่มดาวเทียม มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว คือ บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) (1.3) กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาพรวมพัฒนาการมีจำนวนการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะคนหันไปใช้โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น (2) รูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือของกลุ่มทุนโทรคมนาคมในการกำหนดนโยบาย ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2566 ประกอบด้วย (2.1) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรในลักษณะกลุ่มผลประโยชน์ (group interest) (2.2) กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มทุนโทรคมนาคม มีปัจจัยหลัก คือ การเข้ามามีอำนาจในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และผูกขาดสัมปทานโทรคมนาคม (2.3) การล็อบบี้ กลุ่มทุนโทรคมนาคมได้มีการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อพยายามเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาล (3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุนและการเมืองที่มีต่อนโยบายสาธารณะในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2566 กลุ่มทุนสร้างสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับชนชั้นนำ กลุ่มขุนนาง นักวิชาการ และนักการเมือง จนกลายเป็น “ระบบอุปถัมภ์กึ่งผูกขาด” ภายใต้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน

References

จารวี โกมลดิษฐ์. (2544). บทบาทผู้นำด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ. 2531–2534. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุมพล หนิมพานิช. (2542). กลุ่มผลประโยชน์กับการเมืองไทย แนวเก่า แนวใหม่ และกรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานเศรษฐกิจ. (2564, กันยายน 9). เปิดวาระลับ ครม. ‘ไทยคม’ ปิดฉากสัมปทานดาวเทียม 30 ปี. https://www.thansettakij.com/politics/495341.

ธนินท์ เจียรวนนท์. (2562). ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. (2542). ศึกษาบทบาทของดาวเทียมไทยคม ในฐานะดาวเทียมแห่งชาติของไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564, กันยายน 11). สิ้นสุดสัมปทาน นับหนึ่งไทยคม ใต้ปีกเอ็นที. https://www.prachachat.net/ict/news-759040#google_vignette.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564, พฤศจิกายน 14). ย้อนตำนาน ธนินท์ เจียรวนนท์ กับบทแรกของธุรกิจโทรคมนาคม ที่เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานประเทศสู่ความทันสมัยอย่างก้าวกระโดด. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000113237.

โพสต์ทูเดย์. (2553, มิถุนายน 15). ไทยคมในความทรงจำของทักษิณ ‘ไม่ใช่ความโลภแต่เป็นสิ่งต้องทำ’. https://www.posttoday.com/politics/34192

ภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2563). แนวทางการบริหารจัดการสิทธิในการใช้งานวงโคจรดาวเทียมและการใช้งานคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องสำหรับจัดทำข้อเสนอแนะการบริหารจัดการดาวเทียมของประเทศไทย. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 49(3), 459.

มติชนออนไลน์. (2560, เมษายน 25). ผู้บุกเบิกและวางรากฐานระบบโทรคมนาคมไทย. https://www.matichon.co.th/bullet-news-today/news_540043

รัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2554). ทุนนิยมพวกพ้องในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบอบสฤษดิ์–ถนอมและระบอบทักษิณ. วารสารจันทรเกษมสาร, 17(32), 84–85.

ฤกษ์ ศุภศิริ. (2553). ประวัติย่อการเมืองไทยในรอบทศวรรษจากทักษิโณมิกส์ถึงพฤษภาจลาจร. กรุงเทพมหานคร: โพสต์บุ๊ค.

วิไล เคียงประดู่. (2540). บทบาทของภาคเอกชนที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2537. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. (2537). ธุรกิจไทยคมกับการพัฒนาประเทศ. สุทธิปริทัศน์, 8(24), 36-43.

สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์. (2541). นโยบายด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทย ศึกษาเฉพาะกรณีแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม (ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540). วิทยานิพนธ์วารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Almond, Gabriel A., and G. Bingham Powell Jr. Comparative Politics: A Developmental Approach. Boston: Little, Brown and Company, 1966).

Shigetomi, Shinichi, and Kumiko Makino, Protest and Social Movements in the Developing World. Cheltenham: Edward Elgar Publishing, 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27